วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กระดูกพรุนมหัตภัยร้ายสำหรับผู้ที่เข้าวัยชรา

       เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาดิฉันได้พาแม่ของดิฉันซึ่งป่วยด้วยโรคปวดหลังก่อนหน้านี้มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับแม่ดิฉันประมาณปี 2543 แม่ดิฉันได้ประสบอุบัติเหตุเข้าที่สันหลัง เกิดจาการยกของหนักมาเกินกำลัง วันนั้นแม่ดิฉันจะถ่ายน้ำจากอ่างน้ำที่เลี้ยงปลาสวยงามเป็นอ่างที่มีขนาดใหญ่และเต็มไปด้วยน้ำ แม่ของดิฉันก็ได้ดันอ่างน้ำเพื่อให้อ่างตะแครงด้านข้างแต่ผลปรากฏว่า กระดูกสันหลังรวมถึงเส้นเอ็นต่างๆของแม่ดิฉันมันฉีกขาด  และได้พยายามช่วยกันพาแม่ไปโรงพยาบาลที่ใกล้เคียงที่สุด คือโรงพยาบาลประจำอำเภอ และแม่ดิฉันก็ร้องเจ็บปวดมาก หมอให้ดูอาการอยู่ 2 วันและไม่ทำอะไรเลยนอกจากให้ยาแก้ปวดบรรเทาเท่านั้น  ดิฉันกับน้องๆ เลยตัดสินใจพาแม่ไปโรงพยาบาลประจำจังหวัด แม่เลยเข้าไปพบแพทย์  แพทย์สั่งให้ทำการเอ็กซเรย์บริเวณกลางหลัง  แพทย์อ่านฟิลม์เอ็กซเรย์แล้วปรากฎว่าเส้นเอ็นและหมอนรองกระดูกปิ้นออกมาด้านข้าง  และหมอยังบอกว่าต้องพักฟื้นอีกนานหลายเดือน  แต่แม่ดิฉันไม่เชื่อหมอว่าจะเดินไม่ได้ จนในที่สุดแม่ดิฉันเป็นอัมพฤษ อยู่ 4 เดือนเต็ม ขาข้างขวารีบไปหมดและแม่ต้องทำกายภาพตลอด รวมถึงการฝึกเดินจนหายดี  วันอาทิตย์เป็นวันที่หมอนัดเอ็กซเรย์อีกครั่ง และพอก็ได้อ่านฟิลม์อีกครั้ง ผลปรากฏว่า แม่มีกระดูกพรุน 4 ข้อ บริเวณหลัง และเรามาทำความรู้จักโรคกระดูกพรุนกันดีกว่า

                โรคกระดูกพรุน
   โรคกระดูกพรุน  คือ  ภาวะจากกระดูกเกิดการสูญเสีย  ทำให้โครงสร้างของกระดูกผิดรูปร่าง มีความเปาะบางและแตกหักง่าย  โดยเฉพาะกระดูกสโพก กระดูกสันหลัง  กระดูกข้อต่างๆ
           ช่วงเวลาของการสร้างและสลายกระดูก มี 3 ช่วง
1.ช่วงของการสร้างมวลกระดูก
     เริ่มตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 30 ปี เป็นการสร้างมวลกระดูกและไม่มีการสลายกระดูกนั้นเอง
2.ช่วงของการคงมวลกระดูก
     เริ่มจาก 30 ปี จนถึง 45 ปี ไม่มีการสร้างมวลกระดูก  การสลายกระดูก  แต่จะมีการคงที่ของมวลกระดูกไว้เท่าเดิม(อาจแตกต่างจากการใช้ชีวิตของแต่ล่ะบุคคล)
3. ช่วงการสลายกระดูก
      เริ่มตั้งแต่อายุ 45 ปีขึ้นไป จะไม่มีการสร้างมวลกระดูกแต่จะเป็นการสลายกระดูกมากกว่า  สตรีที่หมดประจำเดือนจะมีการสลายกระดูดได้อย่างรวดเร็ว

อาหารสำหรับผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุน
1. บริโภคอาหารที่่มีแคลเซียมสูง เช่น ผักใบเขียว ได้แก่ บล็อกโคลี่  ผักกาดเขียว ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง แขนงผัก ดอกกระหล่ำ ผักเหล่านี้ช่วยดูดซึมแคลเซียมได้ถึง 50%เลยที่เดียว , นม และ น้ำเต้าหู่ ช่วยดูดซึ่มแคลเซียมได้ถึง 30%  , ถั่ว ได้แก่ ถั่วอัลมอนด์  ถั่งลาย และงาชนิดต่าง  ช่วยดูดซึมแคลเซียมได้ถึง 20%
2.บริโภคอาหารที่มีฟอสฟอรัส  เช่น นม เนื้อ ปลา เป็ด ไก่ ไข่ เนยแข็ง ตับ ข้าวกล้อง
3.บริโภคอาหารที่มีแมกนีเซียม ถั่วต่างๆ ธัญพีช และอาหารทะเล
4.บริโภคอาหารที่มีวิตามินดี  เช่น น้ำมันตับปลา  เนื้อปลาที่มีไขมัน  ตับและไข่แดง

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงมากที่สุดสำหรับผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุน
1. งดบริโภคอาหารที่มีโปรตีนจากเนื้อสัตว์
2.งดเครื่องดื่มที่มี คาแฟอีน  กาแฟ  น้ำชา  สุรา
3.งดสูบบุหรี
4.ไม่นอนในที่ที่มีพื้นแข็ง  ต้องมีที่นอนที่ไม่นิ่มเกินไปรองนอน
5. ไม่ควรงอตัวจนทำให้กระดูกผิดรูปมากกว่าเดิม  ควรตั้งหลังให้ตรงตลอดเวลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น