วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เป็นแผลเรื่องง่ายๆ

                   เมื่อเดือนที่ผ่านมาฉันได้ประสบอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ซึ่งฉันไม่ได้ตั้งใจให้มันเกิด เหตุเกิดจากวันนั้นฉันกับพี่ฉันกำลังจะเดินทางกลับบ้านเป็นระยะทาง 1 กิโลเมตร พี่ฉันได้เป็นคนขี่รถจักรยานยนต์ แํนเป็นคนซ้อน พี่ไดทำการติดเครื่อง(สตาร์ทเครื่อง)โดยใช้เท้าถีบคันสตาร์ทและเท้าฉันได้ไปอยู่ใกล้คันสตาร์ทพอดีทำให้นิ้วเท้าฉันแตกเป็นแผลเลือดไหลไม่หยุด เพราะบาดแผลลึกมาก เกือบถึงกระดูกนิ้วเท้า จึงต้องใช้ผ้ากดจนเลือดหยุดไหลแล้วไปทำการชำระล้างบาดแผลเพื่อให้บาดแผลสะอาด ส่งผลไม่ให้บาดแผลเกิดการอักเสบมากกว่านี้ ใช้สบู่ในการชำระล้างแล้วนำยาสมานแผลมาใส่ที่บริเวณแผลเพื่อให้แผลหายเร็วขึ้น พร้อมกับฆ่าเชื้อโรคต่าง เรามารู้จักกับแผลชนิดต่างดีกว่าพร้อมกับการรักษา
    ประเภทของแผล
              เนื่องจากแผลหรือบาดแผลเกิดได้จากหลายสาเหตุ และมีลักษณะแตกต่างกัน จึงสามารถจำแนกบาดแผลออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้หลายวิธี ดังนี้
1. ตามความสะอาดของแผล ได้แก่
1.1 แผลสะอาด (clean wound) หมายถึง แผลที่ไม่มีการติดเชื้อหรือแผลที่เคยปนเปื้อน เชื้อแล้ว แต่ได้รับการดูแลจนแผลสะอาดไม่มีการติดเชื้อ เนื้อเยื่อของแผลเป็นสีชมพูอมแดง ไม่มีลักษณะของการอักเสบบวมแดง หรือแผลที่เกิดจากการวางแผนล่วงหน้า เพื่อการตรวจรักษา มีการควบคุมภาวะปราศจากเชื้อ เช่น แผลผ่าตัด แผลเจาะหลัง แผลให้น้ำเกลือ
1.2 แผลปนเปื้อน (contaminated wound) หมายถึง แผลเปิดที่เริ่มมีการอักเสบปวด บวม แดง ร้อน อาจมีสิ่งขับหลั่งเป็นน้ำเลือดหรือน้ำเหลือง มีโอกาสติดเชื้อสูง เช่น แผลถลอก แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลถูกรังสี แผลถูกกรด-ด่าง ไฟฟ้าช็อตหรือแผลผ่าตัดผ่านบริเวณที่มีการอักเสบ ปนเปื้อน เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร อวัยวะสืบพันธุ์ ทางเดินปัสสาวะ ใส่ท่อระบาย เช่น แผลเปิด ลำไส้ใหญ่ ถุงน้ำดีอักเสบ เป็นต้น
1.3 แผลติดเชื้อ (infected wound) หมายถึง แผลที่มีการอักเสบลุกลามเป็นบริเวณกว้าง จากการติดเชื้อมีสิ่งแปลกปลอมหรือปนเปื้อนมาก อาจมีสิ่งขับหลั่งเป็นหนอง ช้ำเลือดช้ำหนองหรือเนื้อเยื่อตาย ส่วนใหญ่เป็นแผลที่เกิดจากอุบัติเหตุ

2. ตามลักษณะการฉีกขาดของผิวหนัง
2.1 แผลปิด (closed wound) หมายถึง บาดแผลที่ผิวหนังหรือเยื่อบุไม่ฉีกขาดออกจากกัน แต่เนื้อเยื่อที่อยู่ใต้ผิวหนังได้รับบาดเจ็บ มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อและหลอดเลือดฝอยบริเวณนั้น ทำให้เลือดออกมาคั่งรวมกันเป็นก้อน (hematoma) ทำให้เกิดการเจ็บปวด มักเกิดจากการกระแทก ถูกดึงรั้งหรือถูกกระตุกอย่างแรง เช่น แผลฟกช้ำ (contusion bruise) กระดูกหักโดยไม่มีแผลภายนอก แผลไหม้พอง สมองได้รับความกระทบกระเทือน (concussion of brain) เป็นต้น
2.2 แผลเปิด (opened wound) หมายถึง แผลที่ผิวหนังบางส่วนฉีกขาดออกจากกัน ได้แก่
2.2.1 แผลถลอก (abrasion) ลักษณะแผลตื้น มีรอยเปิดเพียงชั้นนอกของผิวหนัง หรือเยื่อบุ มีเลือดซึมเล็กน้อย สาเหตุเกิดจากอุบัติเหตุ ถูกขีด ข่วน หรือลื่นไถลบนพื้นหยาบขรุขระ
2.2.2 แผลฉีกขาด (laceration wound) ลักษณะแผลผิวหนังบริเวณขอบแผลฉีกขาด กระรุ่งกระริ่ง และมีการทำลายของเนื้อเยื่อแผลมาก แผลอาจลึก เสี่ยงต่อการติดเชื้อ สาเหตุเกิดจาก อุบัติเหตุ เช่น รถล้ม หกล้ม ถูกของมีคมเกี่ยว ถูกสะเก็ดระเบิด (explosive wound) แผลถูกบดขยี้ (cursh wound) เช่น จากเครื่องจักรบด เป็นต้น
2.2.3 แผลถูกตัด (incision wound) ลักษณะแผลขอบแผลจะเรียบซึ่งเกิดจากของ มีคมผ่านผิวหนังเข้าไป เช่น ถูกมีดบาด แผลถูกแทง (puncture wound) ลักษณะแผล ปากแผลแคบลึก ซึ่งเกิดจากวัตถุ มีคมปลายแหลมทะลุผ่านผิวหนังเข้าไป เช่น แผลตะปูตำ ถูกมีดแทง แผลลักษณะนี้จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคที่ไม่ใช้ออกซิเจน เช่น เชื้อบาดทะยัก
2.2.4 แผลทะลุทะลวง (penetration wound) ลักษณะแผลมีการฉีกขาดและการบดทำลายของเนื้อเยื่อ ซึ่งเกิดจากวัตถุแทงทะลุผ่านผิวหนังเข้าไปถึงเนื้อเยื่อที่อยู่ลึก ๆ หรืออวัยวะภายใน ทำให้มีการตกเลือด เช่น แผลถูกยิง (gun shot wound) กระสุนวิ่งผ่านเยื่อบุผิวหนัง และเนื้อเยื่อที่อยู่ใต้ ผิวหนัง ทำให้เกิดการฉีกขาด (laceration) การบดทำลาย (crushing) เกิดคลื่น (shock wave) และเกิดช่องว่างชั่วคราว (temporary cavitation) ตามที่แนวกระสุนผ่านไป ซึ่งเกิดมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเร็วของกระสุน
3. ตามระยะเวลาที่เกิดแผล
3.1 แผลสด หมายถึง แผลที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ จะด้วยสาเหตุใดก็ตาม เช่น แผลถูกมีดบาด แผลผ่าตัด เป็นต้น
3.2 แผลเรื้อรัง หมายถึง แผลที่มีการติดเชื้อและทำลายเนื้อเยื่อมักเรียกว่า ulcer มีการตาย ของเนื้อเยื่อ (sloughing or shedding) ซึ่งเรียกว่า เนื้อตาย (necrotic tissue) และมีสิ่งขับหลั่งจากการอักเสบของแผลเป็นหนอง (purulent exudate) แผลจะหายช้าและการดูแลรักษายุ่งยากซับซ้อน ได้แก่
3.2.1 แผลกดทับ (pressure sore) เกิดจากหลอดเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงเนื้อเยื่อและ ผิวหนังบริเวณนั้นถูกกดทำให้เนื้อเยื่อและผิวหนังขาดเลือดและออกซิเจนจึงเกิดการตายของเนื้อเยื่อบริเวณที่เกิดแผลกดทับได้มากที่สุด คือ ก้นกบ (sacrum) รองลงมา ได้แก่ สะโพก ส้นเท้า ข้อศอก เข่า ข้อเท้า
3.2.2 แผลที่เกิดจากการฉายรังสีเพื่อการรักษา ทำให้เนื้อเยื่อที่ได้รับรังสีอ่อนแอ
3.2.3 แผลเนื้อเน่า (gangrene) เป็นแผลที่เกิดจากการขาดเลือดมาเลี้ยงหรือเลือดมา เลี้ยงไม่เพียงพอ (venous insufficientcy) พบบ่อยจากหลอดเลือดตีบแข็ง เช่น ในผู้ป่วยเบาหวาน มักใช้เรียกแผลที่เป็นบริเวณอวัยวะส่วนปลาย เช่น แขน ขา นิ้วมือ-เท้า ไส้ติ่ง เป็นต้น พบได้ 2 ชนิดคือ dry gangrene เป็นแผลเนื้อตายแห้งดำ มีกลิ่นเหม็นไม่รู้สึกเจ็บปวด ส่วนที่เป็นเนื้อเยื่อหรือข้ออาจหลุดได้ง่าย แ ละ wet gangrene เป็นแผลเน่าและมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ คลำแผลได้ยินเสียงกรอบเกรบ มีสิ่งขับหลั่งจากแผลตลอดเวลา

        การดูแลรักษาแผล
              หลักในการรักษาแผลเรื้อรัง มี 3 ปัจจัย
              ควบคุมการติดเชื้อ    หากแผลนั้น ๆ มีการติดเชื้อ  จำเป็นจะต้องมีการดูแลบาดแผลเหมือนแผลติดเชื้อดังที่กล่าวมาแล้ว  แต่ถ้าพื้นแผลแดงชมพู  แสดงว่าแผลดีไม่มีการติดเชื้อ ไม่ต้องใส่น้ำยาฆ่าเชื้อใด ๆ เพียงแต่เปลี่ยนวัสดุปิดแผลที่ให้ความชุ่มชื้น  หากไม่มีวัสดุปิดแผลดังกล่าว  อาจใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำเกลือ  แล้วปิดไว้บนแผล  และเปลี่ยนผ้าก๊อซชุบน้ำเกลือบ่อย ๆ ไม่ให้แผลแห้ง
การกำจัดเนื้อตาย     บ่อยครั้งที่พบว่า  แผลเรื้อรังนั้นมีเนื้อตาย  แข็งสีดำหรือเนื้อตายนุ่มสีเหลือง/น้ำตาลอยู่บนแผล  ในบางครั้งเราอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นสะเก็ดหรือหนอง  เนื้อตายเหล่านี้เป็นสิ่งที่ขัดขวางการหายของแผล  หากเนื้อตายที่อยู่บนแผลมีขนาดใหญ่  ควรส่งไปโรงพยาบาลเพื่อตัดเนื้อตายเหล่านี้ทิ้งไป  แต่หากเนื้อตายมีขนาดเล็ก  อาจใช้เจลใส่ลงไปเพื่อทำให้เนื้อตายนิ่มลงและหลุดออกได้เองโดยขบวนการกำจัดเนื้อตายของร่างกายเอง
การควบคุมความชื้น    การหายของแผลแบบชุ่มชื้นนั้น  มีประสิทธิภาพอย่างมาก  เมื่อเรานำมาใช้กับแผลเรื้อรัง  เพราะแผลเรื้อรังเป็นแผลที่หายยาก  วัสดุที่ใช้จะให้ความชุ่มชื้นกับแผลแต่ละสภาพแตกต่างกัน  ดังนั้นก่อนใช้ควรศึกษาให้เข้าใจ  จะช่วยให้แผลหายได้อย่างรวดเร็ว  และไม่เสียเงินมากเกินไป
จะเห็นได้ว่าที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นมุ่งเน้นที่บาดแผลโดยเฉพาะ  แต่เราต้องตระหนักถึงปัจจัยที่ส่งเสริมให้การหายของแผลเกิดขึ้นอย่างดีด้วย  เช่น  ภาวะโภชนาการ ,การได้รับสารหรือยาบางชนิดที่ส่งผลต่อเนื้อเยื่อที่งอกใหม่ , การสูบบุหรี่ ,การดื่มสุรา  เป็นต้น
          แผลกดทับ
              แผลกดทับเกิดได้  ไม่เพียงผู้ป่วยที่อยู่โรงพยาบาลเท่านั้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ  แม้แต่ที่บ้านของคุณเอง  ก็อาจมีญาติพี่น้องหรือมิตรสหายซึ่งเจ็บป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้  แต่คุณช่วยได้
แผลกดทับเกิดขึ้นได้อย่างไร
แผลกดทับเกิดจากการที่ร่างกายอยู่กับที่ไม่ขยับเขยื้อนนานมากกว่า 2 ชั่วโมง  ทำให้ผิวหนังบริเวณที่ถูกน้ำหนักของตัวผู้ป่วยกด  โดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูกมีการกดทับเป็นเวลานาน  ทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงแล้วนำไปสู่การตายของผิวหนังบริเวณนั้น มีสัญญาณของการกดทับเริ่มจาก  ผิวหนังเริ่มแดง  หากไม่มีการรักษาที่ถูกต้องปล่อยให้มีการกดที่นานขึ้น  จะทำให้การตายของผิวหนังลุกลามไปเรื่อย ๆ จากผิวหนังชั้นบนลงไปถึงชั้นกล้ามเนื้อ  ลงไปถึงกระดูกได้เลย
          อันตรายของแผลกดทับ
                 ถ้าตรวจพบแผลกดทับในระยะแรก  ซึ่งจะเป็นเพียงแผลถลอก  การรักษาสามารถทำได้ง่าย  แต่ถ้าแผลลึกโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ  ร่างกายอ่อนแอ  รับประทานอาหารไม่ได้  ผู้ที่มีโรคเบาหวานและมีการติดเชื้อร่วมด้วย  อาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้
ทำอย่างไรไม่ให้เป็นแผลกดทับไม่ยากเลย  เพียงแต่จัดให้ผู้ป่วยนอน นั่ง บนที่นอนหรือที่นั่งนุ่ม ๆ หรือที่นอนลม โดยอาจใช้ที่นอนปิกนิก  เบาะรองนั่งทำด้วยใยสังเคราะห์  ความหนาประมาณ 2 นิ้ว  วางลงบนที่นอน  เก้าอี้หรือรถเข็นนั่งก่อน จากนั้นต้องเปลี่ยนท่านอนอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง  เพื่อลดการกดทับบริเวณผิวหนังและปุ่มกระดูก  ต้องสำรวจผิวหนังว่าเกิดการกดทับหรือไม่  หลังเปลี่ยนท่า ถ้าพบมีรอยแดงแล้วไม่หายใน 24 ชั่วโมง  ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการกดทับบริเวณนั้นจนกว่ารอยแดงจะหายไป  หรือถ้าจำเป็นต้องพลิกมากดบริเวณนั้นให้ลดลงเหลือเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น  แล้วรีบเปลี่ยนเป็นท่าอื่น  ห้ามนวดหรือคลึงบริเวณที่เป็นรอยแดงนั้นเด็ดขาด  เพราะอาจทำให้ผิวหนังถลอกเกิดบาดแผลได้
ดูแลต่อเนื่องเมื่อกลับบ้านเพื่อป้องกันแผลกดทับอย่าลืมพลิกตะแคงตัวทุก  2  ชั่วโมงใช้หมอนนุ่มรองตามปุ่มกระดูกดูแลความสะอาดผิวหนังไม่ให้เปียกชื้นตรวจสภาพผิวหนังทุกครั้งเมื่อพลิกตะแคงตัวหากพบรอยแดงหรือผิวหนังถลอกด้านใด ควรหลีกเลี่ยงการนอนทับผิวหนังบริเวณนั้นถ้าเป็นแผลต้องรีบรักษาแผลให้หายโดยเร็วหากพบแผลลุกลามควรมาพบแพทย์
           การรักษาแผลกดทับโดยเบื้องต้น
                โดยการรักษาแผลกดทับในสถานพยาบาลในบางครั้งการนอนโรงพยาบาลเพื่อการรักษาแผลกดทับเพียงอย่างเดียวอาจทำให้เพิ่มค่าใช้จ่ายในการรักษา  อีกทั้งในโรงพยาบาลมีความจำเป็นต้องสำรองเตียงสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนักกว่า  การรักษาจีงมีการแนะนำการทำแผลโดยเบื้องต้นให้กับญาติ และผู้ดูแลที่ทางโรงพยาบาลเห็นว่าจะสามารถทำได้เอง  แล้วส่งต่อมารักษาที่บ้าน  การรักษาแผลกดทับให้มีประสิทธิภาพ  และเป็นไปตามมาตรฐานการรักษาทางคลินิก  จะแบ่งระยะของแผลกดทับได้             4 ระดับ  และมีการรักษาดังนี้
- ระดับที่ 1 ผิวหนังไม่มีการฉีกขาด แต่เป็นรอยแดง กดบริเวณรอยแดงไม่จางหายภายใน 30 นาที
- ระดับที่ 2 ผิวหนังส่วนบนหลุดออก  ฉีกขาดเป็นแผลตื้น  มีรอยแดงบริเวณเนื้อเยื่อรอบๆ มีอาการปวด บวม แดง ร้อน  มีสิ่งขับหลั่งจากแผลปริมาณเล็กน้อย หรือปานกลาง
- ระดับที่ 3  มีการทำลายผิวหนังถึงชั้นไขมันใต้ผิวหนัง  มีรอยแผลลึกเป็นหลุมโพรง  มีสิ่งขับหลั่งออกจากแผลมาก  อาจมีกลิ่นเหม็น
- ระดับที่ 4  มีการทำลายถึงเส้นเอ็น  กล้ามเนื้อ  กระดูก  แผลเป็นโพรง  มีสิ่งขับหลั่งออกจากแผลมาก  มีกลิ่นเหม็นสำหรับแผลกดทับในแต่ละระดับ  มีข้อแนะนำในการเลือกใช้วัสดุต่างๆ ดังนี้
แผลกดทับระดับ 1ดูแลโดยมีการป้องกันแรงเสียดทานแรงกดทับ  โดยใช้อุปกรณืที่ช่วยลดแรงกดทับ  เช่น หมอน เจลโฟม  ที่นอนลม  เปลี่ยนท่าทุก 2 ชั่วโมง  ทาโลชั่นหรือครีมในผู้ป่วยที่มีผิวหนังแห้ง  ดูแลผิวหนังไม่ให้เปียกชื้น และกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวแผลกดทับระดับ  2
ดูแลเหมือนระดับที่ 1 เพื่อป้องกันไม่ให้มีแผลเพิ่ม  ล้างแผลด้วยน้ำเกลือปราศจากเชื้อ เช็กรอบ ๆแผลด้วยแอลกอฮอล์ 70% ใช้วาสลีนทาผิวหนังรอบแผลเพื่อปกป้องผิวหนังไม่ให้เกิดการเปียกแฉะ  พิจารณา           เลือกใช้วัสดุปิดแผลดังนี้
                   กรณีแผลสีแดง หรือมีเนื้อตายสีเหลืองที่มีน้ำเหลืองน้อยถึงปานกลาง:  อาจปิดด้วยแผ่นฟิล์ม หรือแผ่นซึมซับที่ดูดซับของเหลวได้ดี  แต่ต้องทำให้สภาพแวดล้อมชุ่มชื้น เพื่อแผลจะได้หายเร็ว  ตัวอย่างเช่น ไฮโดรคอลลอยด์ โฟม หรือแผ่นซึมซับที่สกัดจากสาหร่าย
กรณีมีเนื้อตายสีดำแผลค่อนข้างแห้ง สีเหลือง ที่มีน้ำเหลืองน้อย:  การรักษาแผลลักษณะนี้จะต้องแยกเนื้อตายออกจากเนื้อดีก่อนเป็นอัดับแรก  แพทย์อาจใช้การผ่าตัดเอาเนื้อตายทิ้งไป  ซึ่งคนไข้จะเจ็บปวดมาก  ปัจจุบันได้มีการนำผลิตภัณฑ์ ที่สามารถแยกเนื้อตายออกได้ โดยไม่ต้องผ่าตัดเรียกว่า ไฮโดรเจล (Hydrogel) หรือเจลสำหรับแผลเรื้อรัง  ซึ่งจะช่วยทำให้ความชื้นไปที่เนื้อตาย  จนเนื้อตายหลุดเอง  วิธีนี้มีข้อดีหลายประการ  เช่นคนไข้ไม่เจ็บปวด  ไม่รบกวนเนื้อเยื่อข้างเคียง  และที่สำคัญเจลสำหรับแผลเรื้อรัง  (Hydrogel) ยังช่วยให้แผลหายเร็ว
           กรณีแผลติดเชื้อ:
                 อาจพิจารณาใช้ยาฆ่าเชื้อพวก ซิลเวอร์ซัลฟาไดอะซีน (Silver sulfa diazine)  ปิดด้วยผ้าก๊อซช่วงระยะหนึ่งจนกระทั่งอาการของการติดเชื้อหายไป  หรือปัจุบันมีแผ่นซึมซับที่มีตัวยาฆ่าเชื้อ  เช่น  แผ่นโฟมที่มียาฆ่าเชื้อที่มีส่วนประกอบของโลหะเงิน (silver dressings)ช่วยควบคุมการติดเชื้อ
แผลกดทับระดับ 3, 4 พิจารณาเลือกวัสดุปิดแผลคล้ายกับการพิจารณาระดับ 2 เนื่องจากแผลในระดับนี้มีการสูญเสียเนื้อเยื่อค่อนข้างมากทำให้มีน้ำเหลืองค่อนข้างมาก และอาจมีภาวะแทรกซ้อน  ควรปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์เพื่อติดตามผลการดูแลรักษาแผลอย่างสม่ำเสมอ
             ข้อแนะนำในการดูแลแผลกดทับเองที่บ้าน  สามารถทำได้ง่ายดังนี้
                    ล้างแผลกดทับด้วยน้ำเกลือ และเช็ดรอบแผลด้วยแอลกอฮอล์  หลังจากนั้นซับให้แผลแห้ง  ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาโพวีโดน-ไอโอดีน (Povidone Iodine) เช็ดแผลโดยไม่จำเป็น
ใส่ไฮโดรเจลลงบนแผลกดทับหนา 3-5 มิลลิเมตรเพื่อแยกเนื้อตายออกและ/หรือให้ความชุ่มชื้นกับแผลเพื่อให้แผลหายเร็วขึ้นปิดแผ่นซึบซับ และยึดแผ่นซึมซับด้วยแผ่นฟิล์มกันน้ำได้ เพื่อที่จะอาบน้ำคนไข้ได้ และยังป้องกันอุจจาระและปัสสาวะได้(ในกรณีที่แผลกดทับอยู่ใกล้รูเปิดทวาร)
ในกรณีที่แผลกดทับมีเนื้อตายอยู่ให้ทำแผลใหม่วันละ 1 ครั้ง หากเนื้อตายหลุดออกแล้ว ให้ทำแผลใหม่ 3 วัน/ครั้ง  หรือตามความเหมาะสมหากคนไข้มีภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวาน แผลติดเชื้อ ฯลฯ ควรปรึกษาแพทย์จะช่วยผู้ป่วยที่เป็นแผลกดทับได้อย่างไร หากคุณพบญาติที่เป็นแผลกดทับแล้วยังไม่ได้รับคำแนะนำในเรื่องการดูแล  สามารถปรึกษาได้จากโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลใกล้บ้าน  หรือถ้าคุณมีโอกาสพบเจอผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดแผลกดทับ  กรุณาให้คำแนะนำตามวิธีข้างต้น  ก็จะเป็นการช่วยกันป้องกันแผลกดทับ และถือว่าเป็นคำแนะนำที่มีคุณค่าอย่างมาก

วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปวดท้องตรงลำไส้

                วันนี้มีเรื่องให้เครียดมากมายส่งผลกระทบกับระบบทางร่างกาย ซึ่งเกิดขึ้นกับฉันโดยความเครียดทำให้เราปวดท้องมาก การปวดท้องเริ่มจากการรับประทานอาหารที่ไม่ตรงเวลาและทานอาหารที่มีรสจัด ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นคนที่ไม่เป็นโรคนี้มาก่อน พออายุมากขึ้นวิถีชีวิตการกินเปลี่ยนไป เริ่มกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์กับร่างกายจึงทำให้เราเป็นโรคนี้ได้ เวลาอาการปวดท้อง มักจะแสดงอาการปวดตรงจุดบริเวณลำไส้ ปวดแล้วก็คลาย หรือปวดเอื่อยๆ ไปเลยๆ จนกว่าลำไส้จะได้ถ่ายอุจจาระออกมาจนหมดถึงจะหายปวด รวมกับการกินยา  เรามารู้จักเจ้าโรคนี้กันดีกว่า

           โรคลำไส้แปรปรวน ปวดท้องเรื้อรัง ถ่ายผิดปกติ หรือ อืดแน่นท้อง จากลำไส้ใหญ่
                       โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome (IBS)) เป็นภาวะเรื้อรังของลำไส้ ซึ่งประกอบด้วยอาการหลัก คือ ปวด หรือ อึดอัดท้อง และ มีลักษณะอาการสัมพันธ์กับการถ่าย หรือ อุจจาระที่เปลี่ยนไป (บ่งบอกว่าเป็นการปวดจากลำไส้ใหญ่) ซึ่งไม่พบว่ามีสาเหตุใด ๆ
          โรคนี้หายได้หรือไม่
                     พบว่ามีการรักษาได้หลายอย่าง แต่ส่วนใหญ่ทำให้อาการดีขึ้น หรือ หายชั่วคราว แต่ไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ จากลักษณะนี้ทำให้เกิดความหงุดหงิดในการรักษาทั้งแพทย์ และ ผู้ป่วย การรักษาพบว่าดีขึ้นได้มากขึ้น ถ้าผู้ป่วยทราบว่าลักษณะโรคนี้ ดีขึ้นแต่ไม่หาย และ ไม่ได้เกิดจากสาเหตุโรคร้ายแรงใด ๆ เลย ดังกล่าว
                อาการของโรค
1. ปวดท้อง - มักเป็นลักษณะบีบ (crampy) มีความรุนแรงไม่เท่ากัน และมักอยู่ในส่วนของลำไส้ด้านล่างด้านซ้าย แต่ลักษณะการปวดอาจเป็นแบบอื่นเช่นตื้อ ๆ หนัก ๆ อึดอัด มีความรุนแรงต่าง ๆกัน รวมทั้งตำแหน่งอาจอยู่ที่ใดก็ได้ด้วย ไม่เหมือนกันในแต่ละคน บางคนพบว่าเมื่อเครียด หรือ ทานอาหารบางอย่างอาจทำให้แย่ลงมากขึ้นได้ บางรายการถ่ายทำให้อาการหาย หรือ ลดลงไปได้ บางรายปวดมากขึ้นเมื่อมีประจำเดือน
2. มีลักษณะการถ่ายผิดไป (Altered bowel habits) - ถือเป็นลักษณะพิเศษ อาจช่วยในการวินิจฉัยภาวะโรคนี้เลย ได้แก่ มีท้องเสีย ท้องผูก หรือ มีสลับท้องเสีย และ ท้องผูกก็ได้ โรคนี้อาจแบ่งเป็นท้องเสียเด่น (diarrhea predominant IBS) หรือ ท้องผูกเด่น (constipation dominant IBS)
3. ท้องเสีย มักเกิดในช่วงเวลาทำงาน (daytime) และมักเป็นในช่วงเช้าหรือหลังทานอาหารมากกว่าเวลาอื่น ภาวะท้องเสียมักมีอาการร่วมคือ การต้องรีบอยากเข้าถ่าย (urgency) และมักมีอาการรู้สึกถ่ายไม่หมดร่วมด้วย (incomplete evacuation) ราวครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยพบว่ามีมูกเวลาถ่าย ได้ด้วย การท้องเสียหลังเข้านอนหลับสนิทแล้วพบน้อยมาก ๆ ถ้ามีการปลุกตื่นอยากถ่ายอย่างนี้ ควรหาสาเหตุร้ายแรงอื่น ๆ ก่อน
4. ท้องผูก - อาจกว่าจะหายเป็นวัน หรือเป็นเดือน โดยถ่ายแข็ง หรือ คล้ายลูกกระสุน (pellet-shaped) บางรายอาจมีความรู้สึกว่าถ่ายไม่หมดร่วมด้วย ทำให้เกิดภาวะเบ่งมากตามมา หรือ นั่งถ่ายอยู่นานไม่ออก ร่วมด้วยได้ บางรายเกิดการใช้ยาระบาย หรือ สวนถ่ายบ่อย ๆ โดยไม่จำเป็นร่วมด้วย
5. อาการลำไส้อื่น ๆ - เช่นอืดเฟ้อ ลมมาก เรอ แน่นแสบอก กลืนลำบาก หรืออิ่มเร็ว คลื่นไส้ได้ด้วย
6. อาการอื่นที่ไม่ใช่อาการกลุ่มลำไส้ - เช่นอยากปัสสาวะบ่อย ปวดประจำเดือน หรือมีปัญหาทางเพศ
การรักษา โรคลำไส้แปรปรวน (IRRITABLE BOWEL SYNDROME)  มีวิธีการรักษา และ ยารักษามากมาย บางครั้งต้องอาจใช้ยาหลายกลุ่มเข้ารักษาร่วมกัน เนื่องจากโรคนี้มีหลายกลุ่มย่อย และ การตอบสนองต่อยาก็แตกต่างกัน บางครั้งอาจต้องใช้วิธีปรับยาหลายครั้งจึงดีขึ้น ทั้งนี้ขึ้นกับความเข้าใจโรคดังกล่าวด้วยว่าโรคนี้ไม่ร้ายแรง (หลังจากตรวจค้นหา จนแน่ใจ 1 ถึง 2 ครั้ง หรือ บางคนแค่ประวัติตรวจร่างกายก็แน่ใจได้ว่าไม่ได้มีโรคร้ายแรงโดยตรวจเพิ่มเติมแค่เล็กน้อย) รวมทั้งต้องติดตามการรักษาอธิบายอาการอย่างละเอียด ระหว่างผู้ป่วย และ แพทย์ที่รักษาด้วย จึงทำให้ผลการรักษาดีขึ้น

             การติดตามการรักษา - ในการรักษาขั้นแรก อาจต้องติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิด โดยต้องรายงานอาการ นิสัยความเป็นอยู่ และ การรับประทานของผู้ป่วย รวมทั้งต้องทราบประวัติทุกอย่างที่อาจมีผลต่อลำใส้ บางรายอาจจับจุดได้ว่าแก้ไขได้ง่าย เช่นอาจแพ้อาหารบางอย่าง หรือ ย่อยอาหารกลุ่มนมไม่ได้ (lactose intolerance) รวมทั้งการแก้ความเครียด โรคซึมเศร้าอาจทำให้อาการดีขึ้นได้มาก ควรมีสมุดบันทึกเรื่องเหล่านี้อย่างละเอียดจะช่วยในการรักษาได้มาก

             การเปลี่ยนนิสัยการรับประทาน - จากทฤษฎี ที่อธิบายแล้วว่าผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งอาจมีปัญหาการย่อย แพ้อาหาร ควรหลีกเลี่ยงกลุ่มอาหาร เช่นอาหารที่ทำให้เกิดลม มันมาก กลุ่มนม อาหารย่อยยาก ผัก หรือ เนื้อบางอย่าง ทั้งนี้ขึ้นกับแต่ละคน หรือ บางคนอาจไม่เกี่ยวกับอาหารใด ๆ เลยก็ได้ ควรมีบันทึกอาหาร แต่ละมื้ออย่างละเอียด และ ดูร่วมกับอาการ อาจทำให้ค้นหาอาหารที่ทำให้เกิดอาการได้ชัดเจนขึ้น ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ลองหยุดอาหารกลุ่มนมดูในช่วงแรก เพราะ พบคนที่มีปัญหาย่อยอาหารกลุ่มนม (lactose intolerance) พบได้บ่อยมาก (กินนมแล้วท้องเสีย กินแล้วอืด หรือ กินนมช่วยระบาย) การงดนมก็ควรทดแทนด้วยการกิน calcium ทดแทนด้วย เพื่อบำรุงกระดูก

              อาหารบางอย่างจะมีการย่อยแค่บางส่วน จนเมื่อถึงลำไส้ใหญ่จึงจะใช้แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ช่วยย่อย ทำให้เกิดลมในท้อง และ ปวดบีบได้ อาหารดังกล่าวได้แก่ legumes (คืออาหารประเภทถั่ว beans) และ อาหารกลุ่มกระหล่ำ บลอคคาลี่ cruciferous vegetables เช่น cabbage, brussels sprouts, cauliflower, และ broccoli บางรายอาจมีปัญหากับอาหาร หัวหอม onions, celery, แคลลอท carrots, เลซิน raisins, กล้วย bananas, แอปปริคอท apricots, พรุน prunes, sprouts, และ wheat.

            พยายามกินอาหารที่มีไฟเบอร์ (fiber) มากขึ้น - มักดีในผู้ป่วยกลุ่มที่ปวดท้อง แบบท้องผูก บางรายแม้ปวดแบบท้องเสียการกินไฟเบอร์ กลับทำให้ลำไส้ได้ฝึกบีบตัวดีขึ้นได้ การกินผักผลไม้อาจเกิดข้อเสียดังที่กล่าวแล้วในบางคนที่มีปัญหาการย่อย หรือ ไวต่อลม บางครั้งอาจต้องพิจารณาให้ fiber ทางการแพทย์ เช่น psyllium [Metamucil] หรือ methylcellulose [Citrucel] โดยเริ่มจากขนาดน้อย ไปหาขนาดมาก สาเหตุที่ fiber ทำให้ดีขึ้นยังไม่เข้าใจเหตุผลนัก อาจจากทำให้ลำใส้ได้ฝึกบีบตัวตามที่กล่าวแล้ว ก็ได้

             การช่วยเหลือ ความเครียด หรือ แก้ปัญหาซึมเศร้า จิตเวช ตามที่กล่าวแล้วว่า ความเครียด และ ความกังวลใจ อาจทำให้โรคนี้เป็นมากขึ้นได้ในบางราย ผู้ป่วยควรนึกคิด และ ปรึกษาปัญหาในกลุ่มนี้กับแพทย์อย่างตรงไปตรงมา เพื่อช่วยแพทย์ในการพิจารณาให้การรักษา

     

วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เป็นลมจากการบริจาคเลือด

             การบริจาคเลือดให้กับผู้ป่วยที่ขาดแคลนเลือดเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในถือเป็นการทำบุญอีกอย่างหนึ่ง  จะเล่าประสบการณ์ในการบริจาคเลือดให้ฟังน่ะ มีญาติผู้ฉันป่วยเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่วต้องได้รับการผ่าตัดทันทีและต้องการเลือดมาก เพราะการผ่าตัดจะต้องหาเลือดจากญาติผู้ป่วยมาทดแทนเลือดที่ให้กับคนไข้ เพื่อเป็นการสำรองเลือดขณะเกิดเหตุฉุกเฉินกับผู้ป่วยทางโรงพยาบาล  ก่อนหน้าจะบริจาคให้เลือดกับญาติที่ป่วยฉันได้ไปบริจาคเลือดในวันคล้ายวันเกิดของฉัน  และอีก 1 เดือนต่อมาญาติฉันก็เข้ารับการผ่าตัด เลือดไม่พอสำหรับการผ่าตัดฉันเลยไปบริจาคเลือดเป็นรอบที่สอง และเป็นต้นเหตุให้ฉันเป็นลมหลังจากบริจาคเลือดเสร็จไปแล้ว 1 ชั่วโมง  การเป็นลมมีอาการหน้ามืด และหายใจไม่ทัน พี่ฉันจึงทำการปฐมพยาบาลโดยการให้นอนพักสักพัก  คลายเสื้อผ้าที่รัดแน่นออก สักพักก็อาการดีขึ้น ดังนั้นเพื่อนๆ ที่คิดจะบริจาคเลือดจึงต้องปฏิบัติตนดังนี้
          คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต
1. มีน้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป
2. อายุระหว่าง 17 ปี ถึง 60 ปีบริบูรณ์ ( ถ้าเป็นผู้บริจาคครั้งแรกต้องอายุไม่เกิน 55 ปี)
3. มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ไม่อยู่ระหว่างไม่สบายหรือรับประทานยาใดๆ
4. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ หรือติดยาเสพติด
5. สตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน ตั้งครรภ์หรือ ให้นมบุตร และไม่มีการคลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา
          การเตรียมตัวก่อนบริจาคโลหิต
-นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อเนื่อง ในเวลาปกติคืนก่อนวันบริจาค
-รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และยาธาตุเหล็กเพิ่ม
-รับประทานอาหารมื้อหลักก่อนมาบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เนื่องจากจะทำให้สีของพลาสมาผิดปกติเป็นสีขาวขุ่น ไม่สามารถนำไปใช้ได้
-ดื่มน้ำ 3-4 แก้ว และเครื่องดื่มเหลวเพิ่ม เช่น น้ำผลไม้ นม น้ำหวาน เพื่อเพิ่มปริมาณโลหิตในร่างกาย จะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อน เช่น มึนงง อ่อนเพลีย หรือวิงเวียนศีรษะภายหลังบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
-งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนบริจาค
-งดสูบบุหรี่ ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี
           ขณะบริจาคโลหิต
-สวมใส่เสื้อผ้าที่แขนเสื้อไม่คับเกินไป สามารถดึงขึ้นเหนือข้อศอกได้อย่างน้อย 3 นิ้ว
-เลือกแขนข้างที่เส้นโลหิตดำใหญ่ชัดเจน ที่สามารถให้โลหิตไหลลงถุงได้ดี ผิวหนังบริเวณที่จะให้เจาะ ไม่มีผื่นคัน หรือรอยเขียวช้ำ ถ้าแพ้ยาทาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า
-ทำตัวตามสบาย อย่ากลัว หรือวิตกกังวล
-ไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอมขณะบริจาคโลหิต
-ขณะบริจาคควรบีบลูกยางอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้โลหิตไหลได้สะดวก หากมีอาการผิดปกติ เช่น ใจสั่น วิงเวียน มีอาการคล้ายจะเป็นลม อาการชา อาการเจ็บที่ผิดปกติ ต้องรีบแจ้งให้พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ในบริเวณนั้นทราบทันที
-หลังบริจาคโลหิตเสร็จเรียบร้อย ห้ามลุกทันที ให้นอนพักสักครู่จนกระทั่งรู้สึกสบายดี จึงลุกไปดื่มน้ำ และรับประทานอาหารว่างที่จัดไว้รับรอง
         หลังบริจาคโลหิต
-ดื่มน้ำมากกว่าปกติ เป็นเวลา 1-2 วัน
-หลีกเลี่ยงการทำซาวน่า หรือออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากๆ งดใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ รวมถึงการหิ้วของหนักๆ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ภายหลังการบริจาคโลหิต
-ถ้ามีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม หรือรู้สึกผิดปกติ ให้รีบนั่งก้มศีรษะต่ำระหว่างเข่า หรือนอนราบยกเท้าสูงจนกระทั่งมีอาการปกติจึงลุกขึ้น และเดินทางกลับ ป้องกันอุบัติเหตุจากการล้ม
-ถ้ามีโลหิตซึมออกมาจากรอยผ้าปิดแผล อย่าตกใจ ให้ใช้นิ้วมืออีกด้านหนึ่งกดลงบนผ้าก๊อส กดให้แน่นและยกแขนสูงไว้ประมาณ 3-5 นาที หากยังไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคโลหิตเพื่อพบแพทย์หรือพยาบาล
-ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงานปีนป่ายที่สูง หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพัก 1 วัน
-รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละอย่างน้อย 1 เม็ด จนหมด เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก
        การดูแลตนเองขณะเป็นลม
                ขณะมีอาการเป็นลม ควรให้การปฐมพยาบาลผู้ป่วยดังนี้
1. จับผู้ป่วยนอนศีรษะต่ำ ปลดเสื้อผ้าและเข็มขัดให้หลวม เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้เร็วและพอเพียง
2. ห้ามคนมุงดู เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก
3.  ใช้ผ้าเย็นๆเช็ดตามหน้า คอและแขนขา
4. ขณะที่ยังไม่ฟื้นห้ามให้น้ำและอาหารทางปาก
5. เมื่อเริ่มรู้สึกตัว อย่าให้ผู้ป่วยลุกขึ้นนั่งทันที ควรให้พักต่ออีกสัก ๑๕-๒๐ นาที
6. เมื่อผู้ป่วยฟื้นคืนสติดีแล้ว และเริ่มกลืนได้ อาจให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ (ถ้ารู้สึกกระหายน้ำ) หรือให้ดื่มน้ำหวาน (ถ้ารู้สึกหิว)
7. ควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
                      - ผู้ป่วยไม่ฟื้นภายใน ๑๕ นาที
                      - ผู้ป่วยมีอายุมากกว่า ๓๐ ปี
                      - มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ เป็นต้น
                      - มีอาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น หายใจหอบเหนื่อย ปวดท้อง ปวดหลัง ปวดศีรษะ วิงเวียน ตาเห็นภาพซ้อน พูดอ้อแอ้ กลืนลำบาก เดินเซ หรือแขนขนชา หรืออ่อนแรง
                      - มีอาการตกเลือด เช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระดำ มีบาดแผลเลือดออก เป็นต้น
                      - มีภาวะขาดน้ำ อาเจียนรุนแรง ท้องเดินรุนแรงหรือไข้สูง

วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปวดหลังเมื่อรู้สึกอ้วนมาก

                   เมื่อวันเสาร์ที่แล้วได้เดินทางไปจังหวัดลพบุรี นั่งขับรถระยะไกลมากก็ปวดหลังมาก ช่วงนี้ร่างกายมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากเวลาลุกขึ้นยืนมีอาการปวดหลังมาก เวลาเดินก็ปวดหลัง โรคปวดกล้ามเนื้อหลัง เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของอาการปวดหลังพบได้ตั้งแต่วัยหนุ่ม  สาวเป็นต้นไป   เป็นภาวะที่ไม่มีอันตรายร้ายแรงและมักจะหายได้เอง แต่อาจเป็นๆ หายๆ   เรื้อรังได้   สาเหตุ  มักเกิดจากการทำงานก้ม ๆ เงยๆ ยกของหนัก นั่ง ยืน นอน    หรือยกของในท่าที่ไม่ถูกต้อง  ใส่รองเท้าส้นสูงมากเกินไปหรือนอนที่นอนนุ่มเกินไป ทำให้เกิดแรงกดตรงกล้ามเนื้อสันหลัง  ส่วนล่างซึ่งจะมีอาการเกร็งตัว   ทำให้เกิดอาการปวดตรงกลางหลังส่วนล่าง คนที่อ้วน   หรือ  หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ก็อาจมีอาการปวดหลังได้เช่นกัน
       อาการของโรคปวดหลัง
              ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดตรงกลางหลังส่วนล่าง  ซึ่งอาจเกิดขึ้นเฉียบพลัน หรือค่อยเป็นทีละน้อยอาการปวดอาจเป็นอยู่ตลอดเวลา หรือปวดเฉพาะในท่าบางท่า การไอ  จาม หรือบิดตัวเอี้ยวตัวอาจทำให้รู้สึกปวดมากขึ้น โดยทั่วไปผู้ป่วยจะแข็งแรงดีและไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย

       การรักษาอาการปวดหลัง    
          ถ้าอาการปวดหลังเกิดจากการนอน ที่นอนควรใช้แบบแน่นยุบตัวน้อยที่สุด ไม่ควรใช้ฟูก ฟองน้ำหรือเตียงสปริงเพราะหลังจะจมอยู่ในแอ่น ทำให้กระดูกสันหลังแอ่น จนเกิดอาการปวดหลังได้
          - ท่านอนที่ผิด คือการนอนคว่ำจะทำให้กระดูกสันหลังแอ่นมากที่สุด โดยเฉพาะระดับเอว ทำให้ปวดหลังได้
          - การนอนหงายทำให้หลังแอ่นได้เล็กน้อย ทำให้ปวดหลังได้ ควรใช้หมอนข้างใบใหญ่ หนุนใต้โคนขาจะช่วยให้กระดูกสันหลังแบนราบ และควรมีหมอนรองรับบริเวณคอไว้การนอนตะแคง เป็นท่านอนที่ดี ควรนอนให้ขาล่างเหยียดตรง ขาบนงอ ตะโพกและเข่ากอดหมอนข้างไว้ หลังให้โก่งเล็กน้อย
        - การนั่ง ควรนั่งให้ชิดขอบในของเก้าอี้โดยหลังไม่โก่ง เก้าอี้ที่นั่งต้องรองรับก้นและโคนขาได้ทั้งหมด ความสูงพอดีที่เท้าแตะพื้น
        - การยืน ควรยืนพักขา 1 ข้าง คือ เข่าตึงข้างหนึ่ง หย่อนข้างหนึ่ง จึงจะไม่ทำให้หลังแอ่น
        - การยกของ อย่าก้มลงยกของ การก้มตัวลงหยิบของในลักษณะเข่าเหยียดตรงเป็นท่าที่ทำให้ปวดหลังได้เพราะกล้ามเนื้อหลังจะเป็นส่วนที่ออกแรง จึงอาจทำให้เกิดอาการอักเสบได้ควรย่อเข่าลงนั่งกับพื้น ยกของให้ชิดตัว แล้วลุกด้วยกำลังขา
         - การนั่งขับรถ บางท่านต้องขับรถเป็นระยะเวลานาน ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้มีอาการปวดหลัง ปวดเอว
ดังนั้นท่านั่งขับรถจะต้องนั่งให้ถูกวิธี และควรมีการพักโดยออกมายืนแล้วบิดขี้เกียจบ้าง เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลัง
 
        ข้อแนะนำ
               อาการปวดหลังแบบนี้เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในหมู่ชาวไร่ชาวนากรรมกรที่ทำงานหนัก และใน  หมู่คนที่ทำงานนั่งโต๊ะนาน ๆ  ซึ่งมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นอาการของโรคไต โรคกษัย  และซื้อ  ยาชุด ยาแก้กษัย  หรือยาแก้โรคไต  กินอย่างผิด ๆ ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เกิดโทษได้  ดังนั้น  จึงควรแนะนำชาวบ้านเข้าใจถึง สาเหตุของอาการปวดหลัง  และควรใช้ยาเท่าที่จำเป็น  โดยทั่วไปการปวดหลังเนื่องจากกล้ามเนื้อมักจะปวดตรงกลางหลังส่วนโรคไตมักจะปวดที่สีข้าง   และอาจมีไข้สูง หนาวสั่นหรือปัสสาวะขุ่นหรือแดงร่วมด้วย


วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ขับรถนานปวดขามาก

        มีเรื่องจะเล่าให้ฟังทุกวันนี้ผู้คนไทยใช้รถกันมาก ตามท้องถนนมีรถวิ่งไม่ขาดสายตลอดเส้นทาง แต่เรื่องที่ไม่คาดคิดอาจเกิดกับคุณ คือ เมื่อขับรถใช้เวลานานกว่าจะถึงที่หมายถึงทำให้เรามีอาการที่ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นได้ไม่ว่าอายุมากหรือน้อย ปวดขาเวลาขับรถ ในการขับรถยนต์เป็นเวลานานๆนั้น อาจเกิดความเมื่อยล้าในการขับรถได้ ในการนั่งขับรถท่านั่งที่ถูกต้องนั้นสามารถที่จะบรรเทาการเมื่อยล้า และยังสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับรถได้อีกด้วย เริ่มต้นจากการปรับเริ่มจากการปรับเบาะนั่งให้ได้ระยะเหมาะสม ปรับตำแหน่งพวงมาลัย นั่งให้เข่าอยู่สูงกว่าตะโพกเล็กน้อย งอข้อศอกเล็กน้อย ปรับพนักพิงให้เอนเล็กน้อย และปรับมุมกระจกมองข้าง-มองหลังและปรับกระจก มองหลังให้เห็นกระจกบังลมหลังทั้งบาน จึงคาดเข็มขัดนิรภัย
    การปรับระยะเบาะนั่ง
             ถ้าเป็นเกียร์ออโต้ก็ใช้ฝ่าเท้าเหยียบแป้นเบรก แล้วเลื่อนตัวเบาะนั่งให้เข่างอเล็กน้อย
ในกรณีที่เป็นรถเกียร์ธรรมดา (เกียร์กระปุก) การปรับเบาะที่นั่งให้เหมาะสมกับการขับ ต้องนั่งให้ชิดพนักพิงแล้วใช้อุ้งเท้าซ้าย เหยียบแป้นคลัตช์ให้สุด ถ้าเหยียบไม่สุด ให้ปรับเบาะไปทางด้านหน้าจนสามารถเหยียบจนสุด เมื่อเหยียบสุดแล้วเข่าต้องตึง ถ้าเหยียบสุดแล้วเข่าไม่ตึง ให้ปรับเบาะเลื่อนมาข้างหลัง มิฉะนั้นจะเมื่อยเข่าในขณะขับ
        การปรับพนักพิงที่ถูกต้อง
                การปรับพนักพิงจะต้องไม่เอนมาก หรือน้อยเกินไปซึ่งเราสามารถตรวจสอบได้ โดยใช้มือขวาจับที่ตำแหน่ง 9-10 นาฬิกา มือขวา 2-3 นาฬิกา ข้อศอกจะงอเล็กน้อย ไม่ตึงและไม่งอมากเกินไป แผ่นหลังจะติดพนักพิงเสมอ ปรับเสร็จแล้วลองเลื่อนมือไปวางไว้บนสุดของวงพวงมาลัย โดยเราต้องสามารถนำ ข้อมือต้องแตะกับพวงมาลัยได้พอดีจึงจะถูกต้อง ถ้าวางมือลงบนพวงมาลัย แล้วมืออยู่เลยไปถึงกลางฝ่ามือหรือโคนนิ้ว แสดงว่าปรับพนักพิงเอนเกินไป ถ้าวางมือลงบนพวงมาลัยแล้วมืออยู่ชิดเลยข้อมือเข้ามาแสดงว่า นั่งชิดเกินไป
        การปรับหมอนรองศรีษะ
                หมอนรองศรีษะให้ปรับเอนศรีษะให้อยู่กลางหมอนรองศรีษะพอดี บางคนอาจเข้าใจผิดคิดว่ามีไว้สำหรับเอาคอมาพิงเพื่อจะนอนได้สะดวก แต่ความเป็นจิงแล้วถ้าทำลักษณะเช่นนั้น จะเกิดอันตรายมากเวลาเกิดอุบัติเหตุ เพราะว่าหมอนรองศรีษะมีหน้าที่ไว้รองศรีษะเวลาเกิดอุบัติเหตุ ไม่ให้ศรีษะเงอหรือสบัดไปทางด้านหลังซึ่งอาจทำให้กระดูกคอ แตกหรือหักได้ ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต


         การปรับเข็มขัดนิรภัย (ถ้าปรับได้)
                 ถ้ารถยนต์สามารถที่จะปรับเข็มขัดนิรภัยให้สูงต่ำได้ ให้ปรับระดับสายเข็มขัดนิรภัย ให้เหมาะสมโดยสาย จะต้องพาดจากบริเวณไหปลาร้าเฉียงลงมาที่สะโพก แล้วก็มาพาดอยู่แถวกระดูกเชิงกราน โดยอย่าให้สายมาพาดที่บริเวรคอ หรือห้อยเลยหัวไหล่ไป
การปรับพวงมาลัยรถยนต์
ในรถยนต์รุ่นใหม่ๆมีระบบการปรับพวงมาลัย โดยการปรับนั้นจะต้องไม่สูงเกินไปจนทำให้เมื่อยล้า ในการขับระยะทางไกล และไม่ควรต่ำจนติดหน้าขา
การปรับกระจกมองหลัง
ให้ปรับกระจกมองหลังให้เห็นมุมมองกว้างที่สุด ไม่ใช่มีไว้ดูหน้าตัวเอง
การปรับกระจกมองข้าง
ให้ปรับกระจกมองข้างให้มองเห็นตัวถังของรถยนต์เพียงนิดหน่อย แต่อย่าให้เห็นเพียงด้านหลังอย่างเดียว


สิ่งที่ไม่ควรทำในการนั่งขับรถ

           1. อย่านั่งชิดพวงมาลัยมากเกินไป เนื่องมาจากการต้องการมองด้านหน้าสุด ของฝากระโปรงหน้า เพราะกลัวว่าการกะระยะจะไม่ถูกต้อง ซึ่งการกระทำเช่นนี้จะทำให้ข้อศอกงอ มากกว่าปกติทำให้การหมุนพวงมาลัย ทำได้ไม่คล่อง และถ้าเกิดอุบัติเหตุจะทำให้ ถุงลมนิรภัยที่อยู่ที่พวงมาลัยเกิดพองตัวขึ้นมา ปะทะกับหน้าทันทีซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นควรกะระยะเอง ซึ่งในตอนแรกอาจกะระยะเผื่อไว้มากหน่อย แล้วพอทำบ่อยๆ ก็จะสามารถกะระยะได้อย่างถูกต้องเอง
           2. การปรับเบาะให้เอนมากๆ จะทำให้ต้องชะโงกตัวโหนพวงมาลัย ทำให้การควบคุมพวงมาลัยไม่คล่องตัว ขาดความฉับไวและแม่นยำในการควบคุม เมื่อมองกระจกมองหลังและมองข้าง ก็จะต้องเบนแนวสายตามากกว่าปกติ และทำให้เกิดการเมื่อยล้าเมื่อขับรถในระยะไกล
           3. การปรับหมอนรองศรีษะให้หนุนลำคอ ควรปรับหมอนรองศรีษะหนุนแล้วอยุ่กลางหมอน เพื่อเวลาเกิดอุบัติเหตุ ศรีษะจะสบัดไม่มากทำให้ลดอันตรายที่จะเกิดกับกระดูกต้นคอ
           4. การจับพวงมาลัย ควรจับในตำแหน่งที่ถูกต้อง และต้องจับทั้งสองมืออยู่เสมอ อาจจะยกมือไปเปลี่ยนเพลงบ้างก็ไม่ว่ากัน แต่คนส่วนใหญ่มันจับผิดๆ และจับตามความสบายของตนเอง เนื่องด้วยความเคยชิน ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
           5. การไม่คาดเข็มขัดนิรภัย เนื่องจากคนส่วนใหญ่พอใส่ครั้งแรกแล้วรู้สึกอึกอัดทำให้ไม่อยากใส่ แต่ถ้าคิดแบบนั้นพอเกิดอุบัติเหตุ คนขับจะพุงเข้าไปหาพวงมาลัย หรือกระจกหน้ารถยนต์ เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ การใส่เข็มขัดนิรภัยควรที่จะใส่เป็นนิสัยจนรู้สึกว่า เมื่อไม่ใส่แล้วมันขาดอะไรไปสักอย่างในการขับรถ
          6. การใช้เท้าซ้ายมาเหยียบคันเร่ง เมื่อขับรถนานๆ อาจเกิดการเมื่อยบางคนจะใช้เท้าซ้ายมาเหยียบคันเร่ง แทนซึ่งไม่ควรปฎิบัติ จะทำให้เมื่อเราต้องการเบรก เรามักจะไม่ชินกับการใช้เท้าซ้ายเบรก ถ้าจะใช้เท้าขวาเบรกก็จะต้องยกเท้าซ้ายออกก่อน ทำให้กว่าจะเบรกต้องเสียเวลาไปมาก ซึ่งบางคนอาจคิดว่าไม่มาก แต่จริงๆแล้วใน 1 วินาที ถ้าเราขับรถเร็ว 100 ก.ม./ชม.ใน 1 วินาทีรถจะวิ่งไป 28 เมตร

        การดูแลตนเองเมื่อมีอาการปวดขา คือ
                 - พักการใช้งานของขาด้านที่ปวด
                 - นวดเบาๆในบริเวณที่ปวด
                 - ยกขาด้านที่ปวดสูงเสมอ
                 - ประคบอุ่นในบริเวณที่ปวด (แต่บางกรณี อาจประคบเย็น เช่น อาการปวดจากเป็นตะคริว หลัง
                    กล้ามเนื้อคลายตัว)
                 - กินยาบรรเทาปวดพาราเซตามอล (Paracetamol)
                 - สวมรองเท้า และถุงเท้าที่เหมาะสม
                 - ควบคุมโรคเรื้อรังต่างๆ และเลิกบุหรี่และสุรา

วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

มะม่วงทำท้องเสีย

   มะม่วงทำท้องเสีย
               วันนี้เห็นมะม่วงที่สวนหน้ารับประทานมาก และเป็นฤดูที่มะม่วงออกผลให้ได้รับประมาณกันแล้ว มะม่วงปีนี้ออกผลผลิตเยอะมากเพราะอากาศในฤดูหนาวที่กำลังผ่านไปมีความหนาวนาน มีอุณหภูมิที่พอเหมาะสมกับการเจริญของดอกมะม่วงซึ่งเราสังเกตกันง่ายๆ ว่าปีไหนมะม่วงจะให้ผลผลิตมากแสดงว่าดอกที่แตกออกมาจากยอดมะม่วงจะแตกออกมาก
              มะม่วงเป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว  หวาน มัน แล้วแต่เราจะเลือรับประทาน พอดีสวนที่หลังบ้านฉันมีมะม่วงเปรี้ยวผลใหญ่อยู่ประมาณ 3 ลูกก็เลยไปเก็บมารับประทานกับพี่สาว ทานกับน้ำปลาหวานแบบชาวราชดำเนินรับประทานกันโดยใช้พริกสดในการทำน้ำปลาหวานอร่อยมากเลยที่เดียว
             แต่ดันพี่สาวเราทานมะม่วงแล้วเกิดอาการท้องเสียมาโดยทันที  เริ่มจากมะม่วงทำให้พี่สาวเราท้องอืด ท้องใส้ปันป่วนมาก ประมาณ 2 ชั่วโมง จึงไปเข้าห้องน้ำและมีอาการท้องเสียเข้าห้องน้ำประมาณ 8 ครั้งแล้ว และต้องทานยาโออาร์เอส ซึ่งช่วยในเรื่องของระบบดูดซึมในขณะที่ลำใส้ไม่สามารถดูดซึมอาหารได้ เป็นเพราะน้ำด้วยช่วงที่มะม่วงเพิ่งลงท้องนั้นถ้าไม่ดื่มน้ำทันที ซักพัก ลำไส้ มันจะดึงน้ำได้ปกติค่ะ  ถ้าดื่มทันทีมันก็จุ๊ดถึงไส้ตรงไปตรง ยิ่งน้ำเย็นยิ่งเห็นผลทันตาทำให้ท้องเสีย
เพราะมะม่วงเปรี้ยว มันมีความเข้มข้นสูง เมื่ออยู่ในลำไส้  จะดึงน้ำเอาไว้กับตัว ทำให้น้ำดูดซึมผ่านลำไส้ได้ไม่เท่าปกติจึงเกิดภาวะที่ท้องเสียแบบไม่ติดเชื้อว่า osmotic diarrhea

             ภาวะท้องเสีย : Diarrhea

                     คือภาวะที่ถ่ายเหลวกว่าปกติ และจำนวนครั้งในการถ่ายมากกว่าปกติ เป็นผลมาจากการมีปริมาณน้ำในอุจจาระมากกว่าปกติ  แบ่งได้เป็น 4 ประเภท

Osmotic diarrhea
          มีสาเหตุมาจากลำไส้ไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้เท่าปกติ  ทำให้มีปริมาณน้ำที่ไม่ถูกดูดวึมในลำไส้มากตามไปด้วย   ซึ่งโดยมากมีสาเหตุมาจาก การได้รับอาหารมากเกินไป  การย่อยหรือการดูดซึมอาหารผิดปกติ หรือการเกิดโรคของเยื่อบุลำไส้    ท้องเสียแบบนี้สามารถหยุดได้โดยการงดอาหาร
Secretory diarrhea : มีสาเหตุมาจากการหลั่งสารน้ำมากกว่าปกติเข้าไปในลำไส้  ซึ่งมักมีสาเหตุมาจาก  สารพิษที่เชื้อแบคทีเรียสร้าง, ยาหรือสารเคมีบางอย่าง   ท้องเสียชนิดนี้จะไม่หยุดแม้ว่าจะมีการอดอาหารแล้วก็ตาม
Alterer permeability (exudative) diarrhea
            มีสาเหตุมาจากโรค หรือความผิดปกติที่ทำลาย หรือทำให้เยื่อบุทางเดินอาหารเสียหาย ทำให้การย่อยและการดูดซึมอาหารผิดปกติและยังทำให้เซลของผนังลำไส้มีช่องว่างจนจนเกิดการรั่วของของเหลวและสารประกอบต่างๆเข้ามาในทางเดินอาหาร จนทำให้เกิดท้องเสีย
Altered mobility diarrhea
            เกิดจากการเคลื่อนไหวของลำไส้ผิดปกติไปจากเดิม ทำให้สัตว์เกิดอาการท้องเสียเนื่องจากการดูดซึมของเหลวในลำไส้ลดลง

 การดูแลตนเองเบื้องต้น

           ในรายผู้ใหญ่ที่ท้องเสียเฉียบพลัน มักมีสาเหตุจากการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด หรือมีเชื้อโรคเจือปน ทำให้เกิดการติดเชื้อ  หรือในบางราย  การรับประทานอาหารที่มีรสจัดก็อาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้เช่นกัน  ถ้าอาการท้องเสียมีอาการไม่มาก แนะนำให้ถ่ายอุจจาระออกมาจนหมด หลีกเลี่ยงการรับประทานยาหยุดถ่าย เพราะจะทำให้ของเสียหรือเชื้อโรคจะยังคงสะสมอยู่ในลำไส้  และระหว่างที่มีอาการ แนะนำให้หยุดเลี่ยงการรับประทานอาหาร  ที่มีผลิตภัณฑ์นมเป็นส่วนประกอบ งดอาหารรสจัดและของหมักดอง  รับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย  เช่น  ข้าวต้มหรือโจ๊ก หากมีอาการถ่ายบ่อยจนร่างกายอ่อนเพลีย ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ร่วมด้วย นอกจากนี้การลดขนาดมื้ออาหารลงในขณะท้องเสีย ก็เป็นการรักษาวิธีหนึ่งซึ่งไม่มีผลเสีย หากร่างกายแข็งแรงดี เพราะจะเป็นการช่วยให้ลำไส้พักและช่วยให้การทำงานกลับเป็นปกติเร็วขึ้น  ตรงกันข้ามหากรับประทานเข้าไปมาก อาหารเหล่านั้นจะถูกดูดซึมเข้าร่างกายได้น้อยหรือไม่ดูดซึมเลย ทำให้ยิ่งรับประทานมากเท่าใด ก็ยิ่งทำให้เสียน้ำและเกลือแร่ออกจากร่างกายมากขึ้นเท่านั้น และจะได้ประโยชน์จากอาหารที่รับประทานเข้าไปน้อย  มีหลายคนสงสัยว่า เมื่อท้องเสียต้องรับประทานคาร์บอนหรือไม่ ความจริงแล้วยังไม่มีการยืนยันทางการแพทย์ว่า รับประทานคาร์บอนแล้วจะช่วยดูดซับสารพิษได้จริง  อย่างไรก็ตาม หากจะรับประทานคาร์บอน ควรเว้นระยะห่าง 2 ชั่วโมงจากการรับประทานยาชนิดอื่น เช่น ยาฆ่าเชื้อ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้คาร์บอนไปดูดซึมยาดังกล่าว ทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาลดลง  และหลังจากหายท้องเสียแล้ว การรับประทานอาหารซึ่งมีจุลินทรีย์ชนิดดี เช่น โยเกิร์ต หรือผลิตภัณฑ์ที่มีโปรไบโอติก ก็อาจช่วยให้เชื้อต่างๆ ในลำไส้คืนสมดุลได้เร็วขึ้น ที่สำคัญคือการป้องกัน โดยเลือกรับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ ย่อยง่าย และควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด อีกทั้งดูแลสุขอนามัย เช่น ล้างมือด้วยสบู่หลังเข้าห้องน้ำและก่อนกินอาหาร






วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

เบื่อจังเลยกับการ ไอ


              ช่วงนี้อากาศเริ่มพลัดเปลี่ยนฤดู ทำให้เป็นโรคหวัดกันมากขึ้นเนื่องจากอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย เดียวฝนตก เดียวแดดออก ไม่รู้ว่าร่างกายจะปรับเปลี่ยนอุณหภูมิในร่างกายได้ทันหรือเปล่า และในที่สุดก็เป็นหวัดจนได้ เริ่มจาการเจ็บคอและตามมาด้วยการไอและตอนนี้การไอก็ยังไม่จางหายไปจากเราสักที่
             การไอเป็นกลไกการตอบสนองของร่างกายอย่างหนึ่งต่อสิ่งผิดปกติในทางเดินหายใจ มีความสำคัญอย่างมากเพื่อไว้เป็นกลไกป้องกันและกำจัดเชื้อโรค เสมหะหรือสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ อ่านบทความนี้จบคุณคงชอบใจที่มีอาการไอทุกๆครั้งแน่ๆครับ

เพราะอะไรเราจึงมีอาการไอ

กลไกการเกิดอาการไอเริ่มจากการที่มีสิ่งกระตุ้นตัวรับสัญญาณการไอหรือมีสารระคายเคืองในบริเวณทางเดินหายใจส่วนบนและล่าง เริ่มตั้งแต่ช่องหูและเยื่อบุแก้วหู จมูก โพรงอากาศข้างจมูกหรือไซนัส โพรงหลังจมูก คอหอย ลงไปยัง กล่องเสียง หลอดลม ปอด กระบังลม และเยื่อหุ้มปอดในที่สุด นอกจากนี้ยังพบตัวรับสัญญาณการไอบริเวณเยื่อหุ้มหัวใจและกระเพาะอาหารอีกด้วย โดยจะรับการกระตุ้นผ่านไปทางเส้นประสาทสมองคู่ที่ 10 เป็นหลักไปยังศูนย์ควบคุมการไอ (cough center) ในสมองบริเวณเมดุลลาซึ่งจะมีการควบคุมลงมายังกล้ามเนื้อและอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ เช่น กล้ามเนื้อกระบังลม กล้ามเนื้อซี่โครง กล้ามเนื้อท้อง กล่องเสียง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลอดลม ทำให้เกิดการตีบแคบของหลอดลม ทำให้เกิดอาการไอ

อาการไอแบ่งได้กี่ชนิด

ถ้าแบ่งตามระยะเวลาของอาการไอ แบ่งได้

1.ไอฉับพลัน คือเริ่มมีอาการไอน้อยกว่า 3 สัปดาห์ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น หวัด โพรงไซนัสอักเสบฉับพลัน คอหรือกล่องเสียงอักเสบ หลอดลมอักเสบ โรคถุงลมโป่งพอง ปอดอักเสบ การที่มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในหลอดลม หรืออยู่เฉยๆคุณเองหายใจสัมผัสกับสารระคายเคืองในอากาศในสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่ ควันไฟ กลิ่นสเปรย์ แก๊ส มลพิษทางอากาศ

2. ไอเรื้อรัง มีอาการไอนานมากกว่า 3 ถึง 8 สัปดาห์ ส่วนใหญ่เกิดจากโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบเรื้อรังแล้วมีน้ำมูกไหลลงคอ โรคหืด โรคกรดไหลย้อน (GERD) การใช้เสียงมากทำให้เกิดสายเสียงอักเสบเรื้อรัง เนื้องอกบริเวณคอ กล่องเสียงหรือหลอดลม โรคของสมองส่วนที่ควบคุมการไอ โรควัณโรคปอด รวมทั้งผลข้างเคียงจากการรับประทานยารักษาความดันโลหิตสูงกลุ่ม angiotensin-converting enzyme inhibitor (ACE-I)  

ไอนานๆจะมีผลเสียมากกว่าหรือไหม

การที่ไอมากๆ อาจทำให้เสียบุคลิกภาพในการอยู่ร่วมในสังคม เนื่องจากทำให้เป็นที่รำคาญหรือเป็นที่รังเกียจของผู้อื่นและยังอาจแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ บางครั้งก็จะไปรบกวนการรับประทานอาหารรวมทั้งการนอนหลับ ในกรณีที่ผู้ป่วยอายุมากแล้วมีการไอมากๆรุนแรง อาจทำให้กระดูกอ่อนซี่โครงหักได้ รวมทั้งทำให้ถุงลมหรือเส้นเลือดฝอยในปอดแตก ออกสู่โพรงเยื่อหุ้มปอด เกิดอาการหอบเหนื่อยและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ นอกจากในคนไข้ที่มีการผ่าตัดตาและหู เช่น การผ่าตัดต้อกระจก การไอ อาจทำให้เลนส์แก้วตาเทียมที่ใส่ไปในลูกตาหลุดออกได้ หรือการผ่าตัดปะเยื่อแก้วหู การไอมากๆอาจทำให้เยื่อแก้วหูเทียมที่วางไว้เคลื่อนที่ออกมาได้

เมื่อมีอาการไอไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุให้ได้

เมื่อคุณไปพบแพทย์จะมีการซักประวัติ ตรวจร่างกายในระบบทางเดินหายใจส่วนบนและล่าง และอาจส่งตรวจเพิ่มเติมเช่น ส่งตรวจภาพถ่ายรังสีของโพรงไซนัสและปอด การส่องกล้องตรวจระบบทางเดินหายใจ การตรวจเสมหะ การตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอด

รู้ต้นเหตุก็รักษาอาการไอให้หายได้

การรักษาที่ดีที่สุดก็คือต้องหาสาเหตุของไอให้ได้และรักษาตามสาเหตุ

          - ถ้าผู้ป่วยไอจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนหรือล่าง เช่น หวัด หลอดลมอักเสบ และมีอาการไอไม่มากนัก การรักษาเบื้องต้นจะให้ยาบรรเทาอาการไอไปก่อน
         - กรณีที่ไอมีเสมหะที่เหนียวข้นมาก จะถูกขับออกจากหลอดลมได้ยากโดยการไอ การให้ยาละลายเสมหะจะช่วยให้เสมหะถูกขับออกได้ง่ายขึ้น บรรเทาอาการไอได้ดีกว่า แต่หากผู้ป่วยได้รับยาดังกล่าวแล้วอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาและรักษาตามสาเหตุ
        - หากคนไข้มีอาการของการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ซึ่งทราบได้โดยดูจากเสมหะมีสีเหลืองหรือเขียว ถึงเวลาที่แพทย์จะให้ยาฆ่าเชื้อร่วมด้วย

การปฏิบัติตนขณะมีอาการไอให้หายเร็วขึ้น

         -  หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่จะทำให้ไอมากขึ้น เช่น สารเคมี ควันบุหรี่ ฝุ่น มลพิษทางอากาศ สารก่ออาการระคายเคืองต่างๆ
         -  ระวังตัวเมื่อสัมผัสอากาศเย็นๆ โดยเฉพาะแอร์หรือพัดลมเป่า การดื่มหรืออาบน้ำเย็น การรับประทานไอศกรีม หรืออาหารที่ระคายคอ เช่น อาหารที่ทอดด้วยน้ำมัน เนื่องจากอากาศที่เย็นสามารถกระตุ้นหลอดลมทำให้หลอดลมหดตัวทำให้มีอาการไอมากขึ้นได้
        - ควรให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายให้เพียงพอขณะนอน เช่น นอนห่มผ้า ถ้าจะให้ดี ควรใส่ถุงเท้าเวลานอนด้วย ในกรณีที่ไม่ชอบห่มผ้าหรือห่มแล้วชอบสะบัดหลุดโดยไม่รู้ตัว ควรใส่เสื้อหนาๆ หรือใส่เสื้อเข้านอน
        -  ปิดปากและจมูกเวลาไอ ด้วยผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษทิชชู
        - ล้างมือทุกครั้งถ้าใช้มือป้องปากเวลาไอ
        - ควรดื่มน้ำอุ่นมากๆ ผู้ที่สูบบุหรี่ควรหลีกเลี่ยงหรืองดการสูบบุหรี่

การป้องกันอาการไอ

        - ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทุกประเภท ทั้งผักและผลไม้ ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอหรือเล่นกีฬาเป็นประจำ
       -  หลีกเลี่ยงความเครียดและการสัมผัสอากาศที่เย็นมากๆ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
       -  อยู่ห่างจากผู้ที่ไม่สบาย เนื่องจากอาจรับเชื้อโรคจากบุคคลที่ติดเชื้อได้

ควรรีบปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการดังนี้
• มีไข้ 38.9 C ขึ้นไป
• เสมหะปนเลือดมีสีน้ำตาล หรือเขียว
• มีอาการหอบหืด
• หายใจลำบาก
• เจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง
• ไอติดต่อกันนานกว่า 2 สัปดาห์