อาการของโรคปวดหลัง
ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดตรงกลางหลังส่วนล่าง ซึ่งอาจเกิดขึ้นเฉียบพลัน หรือค่อยเป็นทีละน้อยอาการปวดอาจเป็นอยู่ตลอดเวลา หรือปวดเฉพาะในท่าบางท่า การไอ จาม หรือบิดตัวเอี้ยวตัวอาจทำให้รู้สึกปวดมากขึ้น โดยทั่วไปผู้ป่วยจะแข็งแรงดีและไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย
การรักษาอาการปวดหลัง
ถ้าอาการปวดหลังเกิดจากการนอน ที่นอนควรใช้แบบแน่นยุบตัวน้อยที่สุด ไม่ควรใช้ฟูก ฟองน้ำหรือเตียงสปริงเพราะหลังจะจมอยู่ในแอ่น ทำให้กระดูกสันหลังแอ่น จนเกิดอาการปวดหลังได้
- ท่านอนที่ผิด คือการนอนคว่ำจะทำให้กระดูกสันหลังแอ่นมากที่สุด โดยเฉพาะระดับเอว ทำให้ปวดหลังได้
- การนอนหงายทำให้หลังแอ่นได้เล็กน้อย ทำให้ปวดหลังได้ ควรใช้หมอนข้างใบใหญ่ หนุนใต้โคนขาจะช่วยให้กระดูกสันหลังแบนราบ และควรมีหมอนรองรับบริเวณคอไว้การนอนตะแคง เป็นท่านอนที่ดี ควรนอนให้ขาล่างเหยียดตรง ขาบนงอ ตะโพกและเข่ากอดหมอนข้างไว้ หลังให้โก่งเล็กน้อย
- การนั่ง ควรนั่งให้ชิดขอบในของเก้าอี้โดยหลังไม่โก่ง เก้าอี้ที่นั่งต้องรองรับก้นและโคนขาได้ทั้งหมด ความสูงพอดีที่เท้าแตะพื้น
- การยืน ควรยืนพักขา 1 ข้าง คือ เข่าตึงข้างหนึ่ง หย่อนข้างหนึ่ง จึงจะไม่ทำให้หลังแอ่น
- การยกของ อย่าก้มลงยกของ การก้มตัวลงหยิบของในลักษณะเข่าเหยียดตรงเป็นท่าที่ทำให้ปวดหลังได้เพราะกล้ามเนื้อหลังจะเป็นส่วนที่ออกแรง จึงอาจทำให้เกิดอาการอักเสบได้ควรย่อเข่าลงนั่งกับพื้น ยกของให้ชิดตัว แล้วลุกด้วยกำลังขา
- การนั่งขับรถ บางท่านต้องขับรถเป็นระยะเวลานาน ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้มีอาการปวดหลัง ปวดเอว
ดังนั้นท่านั่งขับรถจะต้องนั่งให้ถูกวิธี และควรมีการพักโดยออกมายืนแล้วบิดขี้เกียจบ้าง เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลัง
ข้อแนะนำ
อาการปวดหลังแบบนี้เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในหมู่ชาวไร่ชาวนากรรมกรที่ทำงานหนัก และใน หมู่คนที่ทำงานนั่งโต๊ะนาน ๆ ซึ่งมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นอาการของโรคไต โรคกษัย และซื้อ ยาชุด ยาแก้กษัย หรือยาแก้โรคไต กินอย่างผิด ๆ ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เกิดโทษได้ ดังนั้น จึงควรแนะนำชาวบ้านเข้าใจถึง สาเหตุของอาการปวดหลัง และควรใช้ยาเท่าที่จำเป็น โดยทั่วไปการปวดหลังเนื่องจากกล้ามเนื้อมักจะปวดตรงกลางหลังส่วนโรคไตมักจะปวดที่สีข้าง และอาจมีไข้สูง หนาวสั่นหรือปัสสาวะขุ่นหรือแดงร่วมด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น