มะม่วงทำท้องเสีย
วันนี้เห็นมะม่วงที่สวนหน้ารับประทานมาก และเป็นฤดูที่มะม่วงออกผลให้ได้รับประมาณกันแล้ว มะม่วงปีนี้ออกผลผลิตเยอะมากเพราะอากาศในฤดูหนาวที่กำลังผ่านไปมีความหนาวนาน มีอุณหภูมิที่พอเหมาะสมกับการเจริญของดอกมะม่วงซึ่งเราสังเกตกันง่ายๆ ว่าปีไหนมะม่วงจะให้ผลผลิตมากแสดงว่าดอกที่แตกออกมาจากยอดมะม่วงจะแตกออกมาก
มะม่วงเป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว หวาน มัน แล้วแต่เราจะเลือรับประทาน พอดีสวนที่หลังบ้านฉันมีมะม่วงเปรี้ยวผลใหญ่อยู่ประมาณ 3 ลูกก็เลยไปเก็บมารับประทานกับพี่สาว ทานกับน้ำปลาหวานแบบชาวราชดำเนินรับประทานกันโดยใช้พริกสดในการทำน้ำปลาหวานอร่อยมากเลยที่เดียว
แต่ดันพี่สาวเราทานมะม่วงแล้วเกิดอาการท้องเสียมาโดยทันที เริ่มจากมะม่วงทำให้พี่สาวเราท้องอืด ท้องใส้ปันป่วนมาก ประมาณ 2 ชั่วโมง จึงไปเข้าห้องน้ำและมีอาการท้องเสียเข้าห้องน้ำประมาณ 8 ครั้งแล้ว และต้องทานยาโออาร์เอส ซึ่งช่วยในเรื่องของระบบดูดซึมในขณะที่ลำใส้ไม่สามารถดูดซึมอาหารได้ เป็นเพราะน้ำด้วยช่วงที่มะม่วงเพิ่งลงท้องนั้นถ้าไม่ดื่มน้ำทันที ซักพัก ลำไส้ มันจะดึงน้ำได้ปกติค่ะ ถ้าดื่มทันทีมันก็จุ๊ดถึงไส้ตรงไปตรง ยิ่งน้ำเย็นยิ่งเห็นผลทันตาทำให้ท้องเสีย
เพราะมะม่วงเปรี้ยว มันมีความเข้มข้นสูง เมื่ออยู่ในลำไส้ จะดึงน้ำเอาไว้กับตัว ทำให้น้ำดูดซึมผ่านลำไส้ได้ไม่เท่าปกติจึงเกิดภาวะที่ท้องเสียแบบไม่ติดเชื้อว่า osmotic diarrhea
ภาวะท้องเสีย : Diarrhea
คือภาวะที่ถ่ายเหลวกว่าปกติ และจำนวนครั้งในการถ่ายมากกว่าปกติ เป็นผลมาจากการมีปริมาณน้ำในอุจจาระมากกว่าปกติ แบ่งได้เป็น 4 ประเภท
Osmotic diarrhea
มีสาเหตุมาจากลำไส้ไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้เท่าปกติ ทำให้มีปริมาณน้ำที่ไม่ถูกดูดวึมในลำไส้มากตามไปด้วย ซึ่งโดยมากมีสาเหตุมาจาก การได้รับอาหารมากเกินไป การย่อยหรือการดูดซึมอาหารผิดปกติ หรือการเกิดโรคของเยื่อบุลำไส้ ท้องเสียแบบนี้สามารถหยุดได้โดยการงดอาหาร
Secretory diarrhea : มีสาเหตุมาจากการหลั่งสารน้ำมากกว่าปกติเข้าไปในลำไส้ ซึ่งมักมีสาเหตุมาจาก สารพิษที่เชื้อแบคทีเรียสร้าง, ยาหรือสารเคมีบางอย่าง ท้องเสียชนิดนี้จะไม่หยุดแม้ว่าจะมีการอดอาหารแล้วก็ตาม
Alterer permeability (exudative) diarrhea
มีสาเหตุมาจากโรค หรือความผิดปกติที่ทำลาย หรือทำให้เยื่อบุทางเดินอาหารเสียหาย ทำให้การย่อยและการดูดซึมอาหารผิดปกติและยังทำให้เซลของผนังลำไส้มีช่องว่างจนจนเกิดการรั่วของของเหลวและสารประกอบต่างๆเข้ามาในทางเดินอาหาร จนทำให้เกิดท้องเสีย
Altered mobility diarrhea
เกิดจากการเคลื่อนไหวของลำไส้ผิดปกติไปจากเดิม ทำให้สัตว์เกิดอาการท้องเสียเนื่องจากการดูดซึมของเหลวในลำไส้ลดลง
การดูแลตนเองเบื้องต้น
ในรายผู้ใหญ่ที่ท้องเสียเฉียบพลัน มักมีสาเหตุจากการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด หรือมีเชื้อโรคเจือปน ทำให้เกิดการติดเชื้อ หรือในบางราย การรับประทานอาหารที่มีรสจัดก็อาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้เช่นกัน ถ้าอาการท้องเสียมีอาการไม่มาก แนะนำให้ถ่ายอุจจาระออกมาจนหมด หลีกเลี่ยงการรับประทานยาหยุดถ่าย เพราะจะทำให้ของเสียหรือเชื้อโรคจะยังคงสะสมอยู่ในลำไส้ และระหว่างที่มีอาการ แนะนำให้หยุดเลี่ยงการรับประทานอาหาร ที่มีผลิตภัณฑ์นมเป็นส่วนประกอบ งดอาหารรสจัดและของหมักดอง รับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้มหรือโจ๊ก หากมีอาการถ่ายบ่อยจนร่างกายอ่อนเพลีย ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ร่วมด้วย นอกจากนี้การลดขนาดมื้ออาหารลงในขณะท้องเสีย ก็เป็นการรักษาวิธีหนึ่งซึ่งไม่มีผลเสีย หากร่างกายแข็งแรงดี เพราะจะเป็นการช่วยให้ลำไส้พักและช่วยให้การทำงานกลับเป็นปกติเร็วขึ้น ตรงกันข้ามหากรับประทานเข้าไปมาก อาหารเหล่านั้นจะถูกดูดซึมเข้าร่างกายได้น้อยหรือไม่ดูดซึมเลย ทำให้ยิ่งรับประทานมากเท่าใด ก็ยิ่งทำให้เสียน้ำและเกลือแร่ออกจากร่างกายมากขึ้นเท่านั้น และจะได้ประโยชน์จากอาหารที่รับประทานเข้าไปน้อย มีหลายคนสงสัยว่า เมื่อท้องเสียต้องรับประทานคาร์บอนหรือไม่ ความจริงแล้วยังไม่มีการยืนยันทางการแพทย์ว่า รับประทานคาร์บอนแล้วจะช่วยดูดซับสารพิษได้จริง อย่างไรก็ตาม หากจะรับประทานคาร์บอน ควรเว้นระยะห่าง 2 ชั่วโมงจากการรับประทานยาชนิดอื่น เช่น ยาฆ่าเชื้อ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้คาร์บอนไปดูดซึมยาดังกล่าว ทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาลดลง และหลังจากหายท้องเสียแล้ว การรับประทานอาหารซึ่งมีจุลินทรีย์ชนิดดี เช่น โยเกิร์ต หรือผลิตภัณฑ์ที่มีโปรไบโอติก ก็อาจช่วยให้เชื้อต่างๆ ในลำไส้คืนสมดุลได้เร็วขึ้น ที่สำคัญคือการป้องกัน โดยเลือกรับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ ย่อยง่าย และควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด อีกทั้งดูแลสุขอนามัย เช่น ล้างมือด้วยสบู่หลังเข้าห้องน้ำและก่อนกินอาหาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น