พี่สาวคลอดลูกได้ประมาณเกือบ 2 ปีแล้ว แต่หลานชายไม่พูดสักทีก็เลยคิดว่าไม่เป็นไรมาก แต่พอลองมาปรึกษาหมอที่โรงพยาบาลดูหมอบอกว่าอาจจะเป็นออทิสติ ฉันเลยกับไปสังเกตหลานชายว่ามีอาการแบบที่แพทย์บอกหรือเปล่า อาการที่สังเกตได้ ไม่สบตาฉัน ชอบเล่นอยู่คนเดียว ร้องเรียกก็ไม่สนใจในเสียง ชอบทำอะไรซ้ำๆ แค่นี้น่าจะเข้าข่ายของออทิสติกแล้วน่ะ
ออทิสติก หมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการแตกต่างไปจากเด็กปกติ และส่งผลกระทบต่อการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ความสามารถในการสื่อสาร การใช้จินตนาการ อารมณ์ และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของเด็ก
หลักการเลี้ยงดูเด็กออทิสติก
*ยอมรับและเข้าใจความต้องการพิเศษของเด็ก
*ให้ความรักและความสนใจในตัวเด็ก
*พัฒนาและช่วยเหลือเด็กให้ช่วยเหลือตนเองได้
*ชมเชยและชื่นชม เมื่อเด็กมีการแสดงออกที่เหมาะสมเพื่อให้เด็ก
รู้สึกภูมิใจและมั่นใจ
*สอนเด็กอย่างต่อเนื่อง มีการวางแผนอย่างสม่ำเสมอ จัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย และความสามารถของเด็ก
*กระตุ้นทักษะทางภาษาอย่างต่อเนื่อง พูดคุยโต้ตอบขณะที่เด็กมีกิจกรรมต่าง ๆ
*สอนทักษะทางสังคมที่เหมาะสมแก่เด็ก เริ่มจากการมองสบตา ทักษะการฟัง การเล่นกับกลุ่ม การรอคอย พยายามพาเด็กออกสู่สังคมจริง และสอนในทุกสถานการณ์อย่างเข้าใจ ใจเย็นและอดทน
*สอนเหมือนเด็กทั่วไปให้รู้จักการช่วยเหลือตนเองตามวัย ตามความสามารถและข้อจำกัดของเด็ก
*เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองภายในการดูแลและการให้กำลังใจของคนในครอบครัว
*ฝึกให้เด็กมีระเบียบวินัย เช่น การรู้จักเข้าแถวการรอคอย รู้จักกฎกติกาในการเล่น และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
ลักษณะที่เด่นชัดของเด็กออทิสติก ปัญหาด้านความสัมพันธ์
*ไม่สบตากับผู้อื่น
*ขาดความสนใจบุคคลรอบข้าง
*ไม่เล่นกับเด็กคนอื่น ๆ
ปัญหามีพฤติกรรมแปลก ๆ
*ทำท่าทางแปลก ๆ
*หัวเราะไม่สมเหตุสมผล
*ชอบหมุนวัตถุ
*สนใจวัตถุ / สิ่งของซ้ำ ๆ
ปัญหาทางภาษา
*การสื่อสารกับคนอื่นไม่เข้าใจ
*พูดเรียนแบบเหมือนนกแก้ว
*พูดเรื่องเดียวซ้ำ ๆ
ปัญหาด้านการรับรู้
*ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงในชีวิต เช่นสถานที่
*การรับรู้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ผิดปกติ เช่น ทากาว
ปัญหาที่พบบ่อย ๆ ของเด็กออทิสติก
*ผลกระทบจากภาพและเสียง
*ชอบกินอาหารชนิดเดิมซ้ำๆ ไม่ยอมกินอาหารบางอย่าง
*การใช้ห้องน้ำ
*การติดเสื้อผ้าตัวเดิม
*ชอบพูดเลียนซ้ำคำพูดหรือเพลงโฆษณาในโทรทัศน์
*ความจำสัญลักษณ์ต่าง ๆ เวลา
*การกระตุ้นตนเอง
*ปัญหาการนอน
สาเหตุของการเป็นออทิสติก
ในวงการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุของความผิดปกติที่ชัดเจนแต่ในปัจจุบันจากการศึกษามีหลักฐานสนับสนุนว่าน่าจะเกิดจากการทำงานของสมองที่ผิดปกติ
มากกว่าเป็นผลจากการเลี้ยงดูหรือสิ่งแวดล้อม
อาการของโรคออทิสติก
ออทิสติก เป็นโรคที่มีความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน โดยที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติของพัฒนาการ 3 ด้าน ที่มีอาการต่าง ๆ ดังนี้
-ด้านการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เด็กจะไม่สบตา ไม่แสดงอารมณ์ทางสีหน้า สร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนไม่ได้
-ด้านพฤติกรรมจะมีการหมกมุ่นทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ ทำกิริยาซ้ำ ๆ วนไปวนมา สนใจและหมกมุ่นกับกิจกรรมและสิ่งของบางอย่าง
-ด้านการสื่อสาร จะมีการพัฒนาทางการพูดช้าและเริ่มสนทนา หรือสนทนาต่อเนื่องไม่ได้ ชอบพูดทวน
คำถาม
ในปัจจุบัน โรคออทิสติกมีอุบัติการณ์สูงขึ้นมาก หากท่านสงสัยว่าเด็กจะเป็นออทิสติก ควรมารับการตรวจโดยละเอียดจากแพทย์
การรักษาเด็กออทิสติกด้วย HBO
เป็นการรักษาด้วยการให้ผู้ป่วยหายใจเอาออกซิเจนบริสุทธิ์ 100% เข้าไปภายใต้ความดันสูง ทำให้สมองได้รับออกซิเจนในปริมาณที่สูงกว่าปกติ เพื่อเป็นการรักษาต้นเหตุที่มาจากแนวคิดของการเกิดออทิสติกจากการมีเลือดไปเลี้ยงที่สมองน้อย โดยแพทย์ผู้รักษาด้าน HBO จะกำหนดให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาครั้งละ 1 ชั่วโมง จำนวน 3-5 ครั้ง/สัปดาห์ การรักษาด้วย HBO จะช่วยในการแก้ไขปัญหาความผิดปกติของพฤติกรรม การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และการสื่อสารของเด็ก แพทย์จะประเมินผู้ป่วยทุกครั้งก่อนเข้าเครื่อง HBO รวมทั้งให้ผู้ป่วยประเมิน BQ Test (Behavior Quotient Test) ในครั้งแรกและทำ BQ Test ทุก 40 ครั้งหลังจากการรักษาด้วยเครื่องไฮเปอร์แบริค เพื่อเป็นการวัดผลของการรักษาอย่างเป็นรูปธรรมนอกจากการรักษาด้วย HBO ดังกล่าวแล้ว การรักษาโรคออทิสติกยังต้องทำแบบบูรณาการโดยความร่วมมือของบุคลากรทางการแพทย์หลาย ๆ ส่วน ดังนี้
*กุมารแพทย์พัฒนาการ (จิตแพทย์เด็ก) ตรวจวินิจฉัยเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าหรือผิดปกติ และให้ คำแนะนำการรักษาแบบบูรณาการ ประเมินความจำเป็นในการต้องปรับพฤติกรรม การฝึกพัฒนาการ การฝึกพูด หรือการทำกายภาพบำบัด การใช้ยาเพื่อรักษาโรคที่พบร่วม เป็นต้น
*นักจิตวิทยาคลินิก ให้การรักษาเพื่อปรับพฤติกรรมซ้ำ ๆ หรือผิดปกติของผู้ป่วย รวมทั้งทำการ ประเมิน IQ และ BQ Test เพื่อติดตามผลการรักษาโดยรวมอย่างเป็นรูปธรรม สำหรับการปรับพฤติกรรมนั้นจะทำทั้งแบบเดี่ยว และแบบกลุ่ม
*ครูฝึกพัฒนาการ จะฝึกทักษะให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัด เล็ก เช่น การหยิบจับวัตถุเล็ก ๆ การเขียนหนังสือ ฝึกทักษะการแก้ปัญหา โดยจะมีการฝึกทั้งแบบเดี่ยวและกลุ่มตามความจำเป็นของโรค
*ครูฝึกพูด ในเด็กที่มีปัญหาเรื่องการพูด พูดไม่ได้ พูดไม่ชัด พูดไม่เป็นภาษา ครูฝึกพูดจะฝึกการ ออกเสียงเกี่ยวกับการพูดและฝึกการสนทนา เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการพูดที่ไม่มีความหมายหรือพูดไม่ชัด
*นักกายภาพบำบัด ฝึกการใช้กล้ามเนื้อ สำหรับผู้ที่มีปัญหากล้ามเนื้อไม่สมดุล เช่น ผู้ป่วยที่เดิน อ่อนแรง มือหยิบจับอะไรได้ไม่ดี ผู้ป่วยสะบัดมือบ่อย ๆ หรือกล้ามเนื้อเกร็ง เป็นต้น
*รักษาด้วยวิธีโภชนาการ กุมารแพทย์ด้านโภชนบำบัดจะมีแนวคิดในด้านของอาหารที่ส่งผลต่อ อาการของโรค รวมทั้งการใช้วิตามินและสารอาหารในการรักษาโรคออทิสซึม การดูแลรักษาเด็กออทิสติก ถ้าเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุ 2-3 ปี จะพบว่าอาการของโรคจะรักษาได้ผลดีกว่าและ เร็วกว่าการรักษาในเด็กที่อายุมากขึ้น เพราะฉะนั้นการวินิจฉัยโรคได้เร็ว และเริ่มให้การดูแลรักษาตั้งแต่อายุน้อย ๆ และทำอย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการรักษาเด็กให้หายเป็นปกติเข้าสู่สังคมได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น