มีเรื่องจะเล่าให้ผู้อ่านฟังในเรื่องแฟนดิฉันที่ชอบดื่มกาแฟเป็นชีวิตจิตใจ ดื่มประมาณวันล่ะ 2 - 3 แก้วต่อวัน มีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นเมื่อแม่แฟนดิฉันป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน กระดูกสันหลัง ประมาณ 5 ข้อ มีจุดสีดำตรงกระดูก(ดูได้จากการเอ็กซเรย์) คุณหมอบอกกับคุณแม่ว่าให้เลิกดื่ม กาแฟ ชา น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่ทำลายกระดูก แฟนดิฉันเกิดความกลัวในเรื่องกระดูกพรุนมาก พยายามเลิกกาแฟที่เป็นเครื่องดื่มที่ชอบมากในชีวิต(เจอที่ไหนเป็นอันต้องแวะซื้อตลอด เจ้ากาแฟที่รักของฉัน) การพยายามหากจากกาแฟในสัปดาห์แรก ของการเลิกกาแฟ โดยในแต่ล่ะวันจะดื่มกาแฟ 1 แก้ว ในช่วงเวลาเช้า ประมาณ 1 สัปดาห์แต่ผลปรากฏว่า คือ จะมีอาการปวดหัวมากในช่วงเวลาบ่าย ทำให้ต้องดื่มกาแฟแก้วที่ 2 ในตอนบ่าย ทำให้สัปดาห์แรกไม่ประสบผลสำเร็จ สัปดาห์ที่สองเริ่มทำการทดลองใหม่อีกครั้ง โดยสัปดาห์นี้จะดื่มกาแฟในตอนเวลาประมาณ 11.00 น. ผลปรากฏว่า ในช่วงบ่ายยังมีอาการปวดหัวเล็กน้อย ไม่ต้องดื่มกาแฟในช่วงบ่าย ใช้ความอดทนในความต้องการดื่มมากๆ เกิดอาการยากดื่ม แต่ต้องอดทน ต่อมาสัปดาห์ที่ 3 เริ่มทำการหยุดดื่มกาแฟเลย ช่วงเช้าและบ่ายเกิดอาการปวดหัวนิดน้อย ง่วงนอนมาก อ่อนเพลียมาก ไม่มีแรงในการทำงาน ผ่านไปได้ 2 วัน อาการยังคงดื่ม พอวันที่ 3 เริ่มปวดร่างกายรวมถึงการปวดฟันรวมด้วย วันที่ 4 อาการปวดหัวหายไป แต่ร่างกายยังอ่อนเพลีย และวันที่ 5 อาการเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ ร่างกายเริ่มปรับสภาพการทำงานได้เหมือนเดิม และผลปรากฏว่าการหักดิบ ในการดื่มกาแฟที่ร่างกายเรามี ภาวะติดคาเฟอีนมาหลายปีก็หลายได้ด้วยหัวใจที่แข็งแรงพร้อมกับกำลังใจคนข้างที่มีให้สม่ำเสมอ
ข้อควรระวังในการเลิกกาแฟที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน
1. การขับถ่ายจะไม่เป็นปกติ ควรจะต้องทานอาหารที่มีกากไยมากเป็นพิเศษ หรือจะเลือกทานโยเกิร์ตผสมน้ำมะนาว 3 หยุด น้ำผึ้งตามต้องการจะช่วยในเรื่องระบบขับถ่ายได้ดี
2. ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
3. เมื่อมีอาการปวดหัวมาก ควรทานยาพาราเซนตามอนเพื่อลดอาการปวด
4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 30 นาทีต่อครั้ง
5. อาการไม่ทุเลาควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจดูสามารถของอาการอื่นร่วมด้วย
คาเฟอีน คืออะไร
คาเฟอีนเป็นสารเคมีในกลุ่มแซนธีนส์ (Xanthines) ซึ่งนอกจากคาเฟอีน แล้วยังมีสารอีกสองตัว คือ ธีโอฟิลลีน (Theophylline) ซึ่งเป็นยาที่นิยมใช้กันมาก ในโรคหอบหืด และใช้กระตุ้นการหายใจในทารก แรกเกิดที่หยุดหายใจและ ธีโอโบรมีน (Theobromine) ซึ่งไม่ใช้ในทางการแพทย์แล้ว ลักษณะเด่นของสารกลุ่มนี้ คือ มีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของสมอง ขยายหลอดลม และยังสามารถขับปัสสาวะได้อีกด้วย
คาเฟอีน มีลักษณะเป็นผงสีขาว มีรสขม มีน้ำหนักโมเลกุลค่อนข้างน้อย ละลายน้ำได้ดี ในตัวทำละลายอินทรีย์ ละลายได้พอสมควรในน้ำ โดยเฉพาะน้ำร้อน จะสามารถละลายได้ถึง20-30 มิลลิกรัม ต่อมิลลิลิตรน้ำ กาแฟประกอบด้วย คาเฟอีนประมาณร้อยละ 1.5-2.5 นอกจากนั้นเป็นไขมัน และสารอินทรีย์ กาแฟ 1 ถ้วย มีคาเฟอีนประมาณ 0.10-0.15 กรัม มีไนอาซีน 1 มิลลิกรัม และมีไทอามีน และไลโบเฟวิน เล็กน้อย
คาเฟอีนถูกดูดซึม ได้ดีจากทุกส่วนของทางเดินอาหาร โดยเฉพาะลำไส้เล็กเป็นส่วนที่มีการดูดซึมมากที่สุดเพราะมีพื้นที่การดูดซึมมาก คาเฟอีนถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดภายในร่างกายเราไม่เกิน 1 ชั่งโมง แต่ถ้าได้รับคาเฟอีนเข้าไปขณะท้องว่างหรือกำลังหิว จะถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือดภายใน 30 นาที เพราะเหตุนี้จึงทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า ขึ้นมาทันทีหลังจากได้รับคาเฟอีนเข้าไป คาเฟอีนจะกระจายไปยังสมอง หัวใจ ตับ และไตอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นยังกระจายไปทุกส่วนของร่างกาย คาเฟอีนถูเผาผลาญที่ตับและถูกขับออกทางปัสสาวะ
คาเฟอีน มีฤทธิ์ ในร่างกายประมาณ 3-6 ชั่วโมง และปกติจะไม่มีการสะสมในร่างกาย ยกเว้น ผู้ที่มีการทำงานของตับลดลง ความสามารถในการกำจักคาเฟอีนจะลดลงด้วย เมื่อได้รับยาหรือสารการกำจัดคาเฟอีน เช่นยาคุมกำเนิดที่มี Estradiol แอลกอฮอล์ อาจทำให้ คาเฟอีนสะสมในร่างกาย จนเกิดผลที่ไม่พึงประสงค์ ได้หากบริโภคมากเกินไป เช่น มือสั่น มึนงง ปวดศีรษะ เป็นต้น
ผลต่อสมอง
คาเฟอีนจะเป็นสารที่กระตุ้นสมอง ทำให้ผู้บริโภค มีความตื่นตัว ความคิดฉับไว ไม่ง่วงนอน กระปรี้กระเปร่า รู้สึกมีพลัง ทำงานได้นาน ขนาดของคาเฟอีน ที่เริ่มมีฤทธิ์ ในการกระตุ้นสมอง คือ 40 มิลลิกรัม ขึ้นไป ปัจจุบันในวงการธุรกิจมักจะเรียกเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน ว่าเครื่องดื่มชูกำลัง แสดงให้เห็นภาพของการ เสริมสร้างพละกำลัง ดื่มแล้วไม่ง่วง มีเรี่ยวแรง สามารถทำงานได้มากๆ แม้ว่าจะรู้สึกอ่อนเพลียเหนื่อยล้าและง่วงนอนเพียงใด
คาเฟอีนในขนาดสูงจะทำให้นอนไม่หลับ ลดระยะเวลาหลับและหลับไม่สนิท มือสั่น เกิดอาการวิตกกังวล คาเฟอีนในขนาดที่เป็นพิษอาจทำให้ชักได้ คาเฟอีนเสริมฤทธิ์ยาระงับปวด เช่น แอสไพริน พาราเซตามอลและยังเสริมฤทธิ์ยาระงับอาการปวดศีรษะชนิด ไมเกรนได้แต่ไม่มีฤทธิ์เพิ่มความจำและอาจทำให้การตอบสนองของร่างกายช้าลงได้
ผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต
คาเฟอีนกระตุ้นการหลั่งอะดรีนาลีน และโดปามีน
ฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอะดรีนาลีน ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ใจสั่น ความดันโลหิตสูง ตับเร่งผลิตน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดเร็วขึ้น กล้ามเนื้อตื่นตัวพร้อมทำงาน ทำให้เป็นเหมือนยาชูกำลัง คาเฟอีนทำให้หัวใจเต้นช้าลงเล็กน้อยในชั่วโมงแรก และเต้นเร็วขึ้นในชั่วโมงที่ 2 และ 3 ความดันโลหิตจะเพิ่มขึ้นประมาณ 5-10 มิลลิเมตรปรอทและเพิ่มขึ้นนานประมาณ 2-3 ชั่วโมงแต่จะมีการทนต่อผลของคาเฟอีนที่เกิดกับระบบหัวใจและหลอดเลือดได้ในผู้ที่รับคาเฟอีนเป็นประจำส่วนฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งโดปามีนทำให้รู้สึกผ่อนคลายสบายใจสุขลึกๆ เชื่อว่าเป็นสาเหตุสำคัญทำให้ติดคาเฟอีน
ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานว่าคาเฟอีนเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดโลหิตลี้ยงหัวใจอุดตันและโรคของระบบไหลเวียนโลหิตอื่นๆรวมทั้งไม่ได้ทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคระบบไหลเวียนโลหิตเพิ่มมากกว่าผู้ที่ไม่ได้บริโภคคาเฟอีนอย่างไรก็ตามการบริโภคคาเฟอีนในขนาดสูงเกินไปอาจไม่ดีต่อระบบไหลเวียนโลหิตในระยะยาวได้
ผลต่อการนอนหลับ
ผลของคาเฟอีนต่อการนอนหลับมีความชัดเจนต่อผลต่อพฤติกรรม และอารมณ์มาก กล่าวคือคาเฟอีน จะเพิ่มระยะเวลาที่ใช้ก่อนหลับให้ยาวนานมากขึ้นและลดระยะเวลาในการนอนหลับให้สั้นลง โดยผลเช่นนี้อาจเกิดขึ้นได้จากการดื่มกาแฟที่ชงแก่ๆ เพียงถ้วยเดียวก่อนนอน 1ชั่วโมงเท่านั้น
ทำไมดื่มกาแฟแล้วไม่ง่วง
คาเฟอีนมีลักษณะทางเคมีที่สำคัญประการหนึ่ง คล้ายกับสารที่ชื่อ อดีโนซีน( adenosine) และเข้าไปจับกับตัวรับ( receptor ) ตัวเดียวกันซึ่งสารadenosine เป็นสารเคมีที่สร้างขึ้นในสมอง มีฤทธิ์ทำให้รู้สึกง่วงนอนดังนั้นเมื่อบริโภคเครื่องดื่มประเภท ชาและกาแฟหรือเครื่องดื่มผสมคาเฟอีนเข้าไปสมองจะเข้าใจว่าเป็น adenosine เนื่องจากตัวรับของอดีโนซีนทำปฏิกิริยาจับกับคาเฟอีน กลไกดังกล่าวทำให้สมองขาดสารที่ทำให้รู้สึกง่วงนอน ร่างกายจึงรู้สึกไม่ง่วงและรู้สึกกระปรี้กระเปร่ามีกำลังวังชายิ่งขึ้น
Synder และ Lader( ปี2529)ยังได้อ้างถึงการศึกษานักวิทยาศาสตร์ของญี่ปุ่นว่าคาเฟอีน ขนาด 150 มก. ทำให้ผู้รับการทดลองใช้เวลาเฉลี่ย 2.1 ชม. จึงจะหลับและหลับเป็นเวลาเฉลี่ยเพียง4.6 ชม. เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับคาเฟอีน ซึ่งใช้เวลาเพียง29 นาที และนอนหลับได้นานถึง 7.4 ชม.เมื่อทำการวัดคลื่นสมองของผู้ที่ได้รับคาเฟอีนก็พบลักษณะที่แตกต่างจากการนอนหลับปกติ นอกจากนี้ยังตื่นง่ายเมื่อมีเสียงดัง นอนกระสับกระส่ายและทำให้คุณภาพในการนอนหลับลดลง
การดื่มกาแฟทั้งชนิดธรรมดาและชนิดสกัดจากคาเฟอีนออก จะเพิ่มการหลั่งของกรดและน้ำย่อยในกระเพาะอาหารสูงกว่าคาเฟอีนถึง 2 เท่า ผู้ที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้จึงควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟทุกชนิด รวมทั้งเครื่องดื่มหรืออาหารที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ
ผลต่อระบบทางเดินอาหาร
การดื่มกาแฟทั้งชนิดธรรมดาหรือชนิดที่สกัดจากคาเฟอีนออกจะเพิ่มการหลั่งของกรดและน้ำย่อยในกระเพาะอาหารสูงกว่าคาเฟอีนถึง 2 เท่า ผู้ที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้จึงควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟทุกชนิด รวมทั้งเครื่องดื่มหรืออาหารที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ
ผลต่อระบบกระดูก
แม้ว่าจะมีรายงานในระยะแรกว่าการดื่มกาแฟทำให้ร่างการสูญเสียแคลเซียม ซึ่งอาจทำให้กระดูกเปราะบางและหักง่าย โดยอ้างอิงฤทธิ์ของคาเฟอีนในการเพิ่มการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะ อย่างไรก็ตาม รายงานส่วนใหญ่ที่พบว่าการดื่มกาแฟทำให้มีการสูญเสียแคลเซียม กระดูกเปราะบาง กระดูกหักง่ายนั้น มักจะการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ไม่รัดกุมเพียงพอ เช่นการที่ผู้เข้าร่วม โครงการวิจัย ดื่มนมหรือได้รับแคลเซียมน้อย หรือมีการสูบบุรี่ งานวิจัยในระยะหลังที่ควบคุมปัจจัยเสี่ยงอย่างรัดกุมพบว่าการดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ไม่ทำให้มีการเสียสมดุล ของแคลเซียมในร่างกายไม่ทำให้กระดูกเปราะบางและหักง่าย
ผลต่อระบบสืบพันธุ์
สารเคมีที่มนุษย์ได้บริโภคเป็นจำนวนมาก เช่น แอลกอฮอล์ ในเครื่องดื่มล้วนแต่มีหลักฐานว่าก่อให้เกิดผลต่อระบบสืบพันธุ์โดยเฉพาะ ความผิดปกติของทารกในครรภ์ จากการศึกษาของ Kirkinen ในปี 2526 ถึงผลกระทบของคาเฟอีนต่อระบบไหลเวียนโลหิต เมื่อให้คาเฟอีนครั้งเดียวในขนาด 200 มก. แก่สตรีมีครรภ์ ในระยะ 2 เดือนสุดท้าย ของการตั้งครรภ์ พบว่า คาเฟอีนไม่เปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตของมารดาและ อัตราการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์
ในปีเดียวกันนี้ Wilson และคณะได้ศึกษาในแกะที่ตั้งครรภ์ พบว่าคาเฟอีน ในขนาด 3.5 และ 35 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ลดการไหลเวียนโลหิตไปยังมดลูกเป็นเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงเท่านั้น ข้อมูลชี้ให้เห็นว่าผลต่อการไหลเวียนโลหิตไปยังมดลูกไม่น่าเป็นสาเหตุที่คาเฟอีนจะก่อให้เกิดความผิดปกติของทารกได้
Linn และคณะ (ปี 2525)รายงานว่าการดื่มกาแฟไม่เกินวันละ 4 ถ้วย ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ไม่ทำให้ทารกที่คลอดออกมามีความพิการ Kurppa และคณะ (2526) ได้ขยายการศึกษานี้ให้กว้างขึ้นทั่งประเทศฟินแลนด์ โดยเปรียบเทียบระหว่างมารดาของทารกที่มีความพิการแต่กำเนิด กับมารดาของทารกปกติ ซึ่งคลอดในเวลาและในเขตเดียวกันพบว่า ปริมาณการดื่มกาแฟในระหว่างตั้งครรภ์น้อยลงทั้งสองกลุ่ม โดย ร้อยละ 26.5 ของมารดาทั้งหมด ยังคงดื่มกาแฟ อย่างน้อยวันละ 4 ถ้วย ร้อยละ 7.2 ดื่มอย่างน้อยวันละ 7 ถ้วย และร้อยละ 3.5 ดื่มวันละ10 ถ้วย หรือมากกว่านั้นแลจากการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว ในเชิงสถิติแล้วยังสรุปได้ว่าการดื่มกาแฟ ไม่เพิ่มอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดความพิการของทารก
คาเฟอีนทำให้สัตว์ทดลองหลายชนิดโดยเฉพาะหนูขาวคลอดลูกออกมาพิการแต่ผลดัง
กล่าวไม่เกิดขึ้นในคนซึ่งอาจมีสาเหตุจากความแตกต่างกันในด้านสายพันธุ์และความแตกต่างกันของการได้รับคาเฟอีนของคนและสัตว์ทดลอง
ขณะนี้หลักฐานที่มีอยู่ชี้ว่า คาเฟอีนไม่มีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ในด้านการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ น้ำหนักตัว และความผิดปกติของทารกแรกคลอด การแท้งบุตร และการตั้งครรภ์ ยากรวมทั้งผลต่อการพัฒนาการของเด็กทั้งทางร่างกายและระบบประสาทยังไม่มีข้อยุติชัดเจนแต่ผลงานวิจัยส่วนใหญ่ชี้ว่าคาเฟอีนไม่ทำให้เกิดผลเสียต่อการตั้งครรภ์และในรายงานพบว่าคาเฟอีนทำให้เกิดผลเสียต่อการตั้งครรภ์นั้นมักจะมีสาเหตุจากการควบคุมปัจจัยเสี่ยงอื่นๆไม่เพียงพอ แม้ว่าการได้รับคาเฟอีนหรือการดื่มตามลำพังจะไม่เป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์แต่คาเฟอีนอาจเสริมความเป็นพิษของยาหรือสารบางชนิดต่อทารกในครรภ์ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยสูงสุดในระหว่างตั้งครรภ์ควรระมัดระวังการดื่มเครื่องดื่มและการบริโภคอาหารที่มีคาเฟอีน
ผลต่อการเกิดมะเร็ง
แม้ว่าจะมีงานวิจัยทางระบาดวิทยาในระยะแรกชี้ว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งหลายชนิด ในงานวิจัยที่ชี้ว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนกับการเกิดมะเร็งนั้นส่วนใหญ่ผลที่เกิดขึ้นไม่สัมพันธ์กับปริมาณการดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้จึงทำให้ไม่สามารถระบุได้ว่าคาเฟอีนเป็นสาเหตุในการเพิ่มอัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งและงานวิจัยในจำนวนมากในระยะหลังกลับไม่พบว่าการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมีผลต่อการเกิดมะเร็งดังนั้นสภาวิจัยแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา ( National Research Council ในปี 2532 ) จึงรายงานว่าไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือได้ว่าคาเฟอีนมีความสัมพันธ์กบการเกิดมะเร็งไม่ว่าจะเป็นมะเร็งชนิดใดนอกจากนั้นในปี 2534 คณะกรรมการด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์
( Cancer Society s Medical and Scientific Committee, 2534 )
ได้สรุปว่าไม่มีหลักฐานบ่งชี้เพียงพอว่าคาเฟอีนเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งในคน
การแพ้คาเฟอีน
คาเฟอีน หรือผงกาแฟ อาจทำให้เกิดการแพ้ได้โดยแสดงอาการคัน ผิวหนังร้อนแดง มีผื่นคัน คล้ายลมพิษ อุบัติการณ์ของการเกิดอาการแพ้ค่อนข้างต่ำ และรักษาโดยใช้ยาแก้แพ้ ผู้ที่มีอาการแพ้เหล่านี้ไม่ควรบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน รวมทั้งไม่ควรทำงานที่ต้องสัมผัสกับคาเฟอีนหรือผงกาแฟ
การได้รับคาเฟอีนเกินขนาด
การบริโภคคาเฟอีนในปริมาณที่สูงมากเกินไปจะเกิดพิษได้ ปริมาณคาเฟอีน 200-500 มิลลิกรัม อาจทำให้ปวดศีรษะได้ เกิดภาวะเครียด กระวนกระวาย มือสั่น และประสิทธิภาพการทำงานลดลง คาเฟอีนปริมาณ 1000 มิลลิกรัม อาจทำให้เกิดพิษฉับพลัน โดยผู้บริโภคจะมีไข้สูง วิตกกังวล กระสับกระส่าย พูดตะกุกตะกัก ควบคุมตัวเองไม่ได้ ซึมเศร้า นอนไม่หลับ หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะบ่อย ขนาดของคาเฟอีนที่อาจทำให้เสียชีวิตคือ ประมาณ 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม น้ำหนักตัวในเด็กเล็ก สำหรับเด็กโต ประมาณ 3000 มิลลิกรัม และประมาณ5000-10000 มิลลิกรัม ในผู้ใหญ่ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการต่างๆดังที่กล่าวมาข้างต้นร่วมกับการเสียสมดุลของสารเกลือแร่ในร่างกาย การชักแบบต่างๆ (ชักกระตุก ชักเกร็ง) หลังแอ่น ปอดแฟบ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดปกติและเสียชีวิตจาก ภาวะการหายใจและระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว
การติดคาเฟอีน
การติดคาเฟอีนไม่จัดเป็นยาเสพติดตามเกณฑ์ PSM-IV ของสมาคมจิตแพทย์ศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา และนิยมเรียกพฤติกรรมบริโภคคาเฟอีนว่า บริโภคจนเป็นนิสัยหรือติดมากกว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนติดต่อกันนานๆ ในขนาดสูงกว่าวันละ 350 มิลลิกรัม อาจทำให้เกิดการติดคาเฟอีนได้ ขนาดดังกล่าวเทียบเท่ากับกาแฟ 4-5 ถ้วย กาแฟกระป๋องพร้อมดื่ม 2-4 กระป๋อง ชา 10 ถ้วย เครื่องดื่มชูกำลัง7 ขวด หรือน้ำอัดลมประเภทโคล่า 8-9 กระป๋อง ถ้าดื่มจนติดเป็นนิสัยและไม่ได้รับคาเฟอีนจะเกิดอาการปวดศีรษะภายใน 6 ชั่วโมง ตามมาด้วยอาการอ่อนเพลีย น้ำมูกไหล เหงื่อออกมาก ปวดกล้ามเนื้อ วิตกกังวล กระวนกระวาย อาการเหล่านี้จะคงอยู่ไม่ต่ำกว่า 72 ชั่งโมง
องค์ประกอบที่ทำให้ติดคาเฟอีน คือ ปริมาณของคาเฟอีนที่ได้รับต่อวัน ระยะเวลาการบริโภค ผลที่พึงประสงค์ที่เกิดจากคาเฟอีน สภาวะแวดล้อมและสังคม รสชาติของผลิตภัณฑ์ที่บริโภค พฤติกรรมในการรับรองแขกทางสังคม สภาวะทางเศรษฐกิจและแรงจูงใจ พื้นฐานความรู้ของประชาชน
สรุป จะเห็นได้ว่าคาเฟอีนมีผลต่อร่างกายเรามากมายซึ่งให้ทั้งประโยชน์และโทษกับร่างกายถ้าหากเราดื่มในปริมาณที่เหมาะสมก็ก่อให้ประโยชน์กับร่างกายได้แต่ในทางตรงกันข้ามหากดื่มในปริมาณที่มากเกินไปก็ก่อให้เกิดโทษมหันต์ได้เช่นกัน ถึงแม้ในงานวิจัยยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนในการทดลองที่ผ่านมาเมื่อเราได้ทราบผลกระทบต่อร่างกายแล้วก็สามารถหลีกเลี่ยงหรือป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายเราได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น