วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เดินเข้าสวนผัก จนผิวหนังอักเสบ

            เมื่อวานตอนเย็นฉันกำลังจะเตรียมทำอาหารเย็นเพื่อรับประทานกันทั้งครอบครัว เดินเข้าไปในสวนผัก(ที่บ้านปลูกผักกินเอง) เพื่อไปเก็บใบมะกูดมาใส่ในผัดเผ็ดไก่บ้าน พอเดินมาถึงห้องครัวสักประมาณ 10 นาที แขนขวาก็เกิดผื่นเม็ดเล็กขึ้นมา มีอาการคัน เลยสงสัยว่าจะต้องแพ้อะไรสักอย่างที่อยู่ในสวนผัก เลยรีบล้างแขนด้วยสบู่ที่มีความละเอียดอ่อนต่อผิว แต่ยังไม่หายก็เลยต้องหายาแก้แพ้มาทา  ยาช่วยได้ผื่นที่เป็นเม็ดยุบลง
              
            ผิวหนังอักเสบจากการสัมผัส (Contact Dermatitis)
เป็นโรคผิวหนังซึ่งเกิดจากการสัมผัสกับสารภายนอกร่างกาย มีอาการคัน ผิวหนังมีผื่น บวม แดง และอาจมีน้ำเหลืองไหล ในบริเวณที่สัมผัสสารต้นเหตุ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการระคายเคืองจากสารเคมี น้ำยาซัก-ล้าง โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานในเปียกชื้นการทำงานบ้าน อย่างไรก็ตามสารบางชนิดก็ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ โดยสารก่อภูมิแพ้จะไปกระตุ้นภูมิต้านทานในร่างกาย ให้หลั่งสารบางชนิดออกมาทำให้เกิดอาการผื่นคัน สารที่พบว่าเกิดอาการแพ้บ่อย ๆ คือ Nickel (ในโลหะของปลอม เครื่องประดับ, น้ำหอม, และสารกันเสียในเครื่องสำอาง, น้ำยาย้อมผม, ปูนซิเมนต์, และผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติ

            อาการ
อาการของผู้ที่มีผื่นระคายเคืองจะมีผื่นแดง แห้ง แตก มักเป็นในตำแหน่ง ฝ่ามือที่สัมผัสกับสารเคมี หรือถูกน้ำบ่อย ๆ ในขณะที่ผื่นแพ้สัมผัสจะเกิดได้ในหลายบริเวณ แล้วแต่ว่าจะสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ทีบริเวณใดของร่างกาย เช่น เป็นผื่นที่ศีรษะจากแพ้น้ำยาย้อมผม ผื่นที่ติ่งหูและข้อมือจากแพ้ต่างหู และสายนาฬิกา ผื่นที่รักแร้จากการแพ้น้ำหอมในน้ำยาดังกลิ่นตัว เป็นต้น
ในกรณีที่สงสัยว่าผิวหนังอักเสบเกิดจากการแพ้สัมผัสหรือไม่ ควรเข้ารับการทดสอบผื่นแพ้สัมผัส (Patch test) โดยแพทย์ผิวหนังจะปิดสารทดสอบไว้ที่ผิวบริเวณหลังหรือต้นแขนของผู้ป่วย เพื่อให้สารทดสอบติดอยู่ที่ผิวเป็นเวลา 48 ชั่วโมง จึงแกะออกและอ่านผลการทดสอบ เมื่อครบ 48 และ 96 ชั่วโมงแล้ว หากผู้ป่วยมีอาการหลังจากนั้น แพทย์จะแนะนำให้หลีกเลี่ยงสารที่แพ้ รวมทั้งหลีกเลี่ยงสารก่ออาการระคายเคืองอื่น ๆ และให้ยาที่เหมาะสมในการรักษาต่อไป

              การป้องกันโรคผื่นผิวหนังอักเสบจากการสัมผัส
  1. หลีกเลี่ยงสารที่ทำการทดสอบแล้วพบว่าแพ้
  2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารระคายเคือง เช่น ผงซักฟอก, น้ำยาซักล้างชนิดต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ผิวแตก, แห้ง และคันมากขึ้น
  3. ใส่ถุงมือที่เหมาะสมกับการทำงาน เช่น ถุงมือผ้า , ถุงมือหนัง, ถุงมือยาง, ถุงมือ PVC เป็นต้น
  4. ใส่สบู่ล้างมือน้อยลง หากจำเป็นให้ใช้สบู่เหลวไร้ด่าง และทาครีมบำรุงทุกครั้งหลังล้างมือ

               การรักษาโรคผื่นผิวหนังอักเสบจากการสัมผัส จุดประสงค์คือเพื่อลดความดันลูกตาลง ซึ่งทำได้โดยวิธี
  1. ในระยะที่มีผื่นอักเสบเป็นน้ำเหลือง หรือเป็นตุ่มหนอง ให้ใช้ผ้ากอซ 3-4 แผ่น ชุบน้ำเกลือ (ที่ใช้สำหรับล้างแผล) ปะคบผื่นไว้ประมาณ 10-20 นาที วันละ 2 ครั้ง จนกว่าน้ำเหลืองหรือหนองแห้ง
  2. ทายาคอร์ติโคสเตอรอยด์ เพื่อลดอาการอักเสบของผิวหนัง
  3. รับประทานยาแก้แพ้ เพื่อลดอาการคัน         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น