วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

มะขามทำท้องเสียได้

     วันนี้เดินทางไปต่างจังหวัดระหว่างเดินทางรู้สึกง่วงนอนมาก  เลยคิดว่าต้องหาอะไรที่มันรสจัดๆ กินแก้ง่วงดีกว่า ขับผ่านร้านค้าข้างทางมีแต่ร้านขายมะขามหวาน คือจังหวัดเพชรบูรณ์เรานี้เอง ก็เลยแวะซื้อมะขามจี๊ดจ๊าด 1 กระปุก ท่านระหว่างเดินทาง ท่านเข้าไปมากก็เลยมีอาการปวดท้องขึ้นมาทันที่ ปวดท้องเข้าห้องน้ำ สงสัยท้องคงจะเสียสะแล้วเรา แวะปั้มน้ำมันดีกว่าเราไม่ไหวแล้ว  มะขามใครก็ท่านได้แต่ต้องระหว่างเรื่องท้องเสียเป็นหลักในระหว่างการเดินทาง

           ท้องเสียคือ  ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน ลงท้อง คือภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือเกิดความผิดปกติในการถ่ายอุจจาระ  ตามปกติแต่ละคนจะมีจำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระในแต่ละวันไม่เท่ากัน บางคนอาจจะถ่ายวันละ 2 - 3 ครั้ง ในขณะที่บางคน 2 - 3 วันจึงจะถ่ายสักครั้ง ท้องเสียจะมีอาการถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำที่บ่อยขึ้น อาจจะมากกว่า 3 ครั้งใน 1 วัน อาการนำของการเกิดท้องเสียนั้นก็คือ ลำไส้จะมีการเคลื่อนไหวหรือบีบตัวอย่างมาก ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง ถ่ายง่าย และอ่อนเพลียเมื่อมีการถ่ายบ่อยครั้งขึ้น
               อาการท้องเสีย แบ่งได้เป็น 2 ชนิด
1. ท้องเสียชนิดเฉียบพลันพบในคนส่วนใหญ่ เกิดขึ้นเร็ว แต่เป็นอยู่ไม่นาน มักไม่เกิน 7 - 8 วัน เกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น การติดเชื้อ เกิดจากพิษ เกิดจากยาอื่น ถ้าเป็นท้องเสียอย่างเฉียบพลันที่เกิดจากการติดเชื้อในผู้ใหญ่ มักมีสาเหตุมาจากแบคทีเรีย แต่ถ้าเป็นในเด็กมักจะเกิดจากเชื้อไวรัสอาหารก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ เช่น การรับประทานอาหารที่มีไขมัน หรือรสจัด อาหารที่มีกากหรือเมล็ดมาก ๆ ก็ทำให้เกิดอาการท้องเสียได้เช่นกัน
2. อาการท้องเสียชนิดเรื้อรังเกิดจากหลายสาเหตุ และยากต่อการวินิจฉัย ถ้าเป็นบ่อย ๆ และเป็นเวลานานควรไปพบแพทย์ เพื่อให้ทราบสาเหตุที่แท้จริงและรักษาต่อไป ท้องเสียอาจมีสาเหตุมาจากทางอารมณ์ ซึ่งมักมีอาการปวดท้องถ่ายบ่อย ๆ แต่ถ่ายครั้งละไม่มาก อุจจาระอาจจะเหลวเป็นน้ำแล้วตามมาด้วยลักษณะปกติ มักเกิดหลังรับประทานอาหารไม่นาน ประมาณ 5 - 15 นาที และบางครั้งก็อาจเปลี่ยนเป็นอาการท้องผูกได้
      วิธีป้องกันตนเองไม่ให้ท้องเสีย
ควรหลีกเลี่ยงสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย เช่น อาหารที่ไม่สะอาด อาหารที่ไม่เคยรับประทานมาก่อน อาหารรสจัด ยาบางชนิดที่เคยรับประทานแล้วทำให้ท้องเสีย ตลอดจนพยายามควบคุมอารมณ์ ไม่ให้เกิดความตึงเครียดหรือวิตกกังวลมากเกินไป
        การรักษาโดยไม่ใช้ยา  ท้องเสียเฉียบพลัน บางครั้งก็หายไปเองในระยะเวลาอันสั้น เช่น รับประทานอาหารผิดสำแดง วิตกกังวล หรือติดเชื้อในลำไส้ที่ไม่รุนแรง อาการท้องเสียเหล่านี้มักจะหายไปเองในระยะเวลาอันสั้น บางทีก็ไม่จำเป็นต้องใช้ยารักษาเลยด้วยซ้ำ เนื่องจากขณะที่มีอาการท้องเสีย ลำไส้จะดูดซึมน้ำและอาหารน้อยลง และลำไส้มีการเคลื่อนไหวเร็ว จึงเกิดการคั่งของน้ำในลำไส้ ทำให้ปริมาณน้ำในลำไส้มาก จึงถ่ายเหลวบ่อยและมีจำนวนมากขึ้น ดังนั้น การลดปริมาณน้ำในลำไส้ให้น้อยลงมากเท่าใด คือวิธีการรักษาที่ดีเท่านั้น การงดอาหารในขณะท้องเสียก็เป็นวิธีการรักษาวิธีหนึ่ง ซึ่งไม่มีผลเสียใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้าร่างกายแข็งแรงดี เพราะจะช่วยให้ลำไส้ได้พักผ่อน และช่วยให้การทำงานเป็นปกติดียิ่งขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากรับประทานอาหารเข้าไปมาก อาหารเหล่านั้นก็ถูกดูดซึมเข้าร่างกายได้น้อยหรือไม่ดูดซึมเลย ทำให้ ยิ่งรับประทานมากเท่าใด ก็ยิ่งทำให้เสียน้ำและเกลือแร่ออกจากร่างกายมากยิ่งขึ้นเท่านั้น และจะไม่ได้ประโยชน์จากอาหารที่รับประทานเข้าไปเลย สิ่งสำคัญในการรักษาอาการท้องเสียก็คือ ทำอย่างไรก็ได้ที่จะไม่ให้ร่างกายเสียน้ำและเกลือแร่ เพราะว่าถ้าเสียน้ำและเกลือแร่มาก ๆ จะทำให้ร่างกายมีอาการขาดน้ำ เช่น ตาโบ๋ หนังเหี่ยว ขาดความยืดหยุ่น ไม่เต่งตึง ปากแห้ง ชีพจรเต้นเร็ว ปัสสาวะน้อย ลุกนั่งจะรู้สึกหน้ามืด ถ้าเป็นเด็กเล็กกระหม่อมจะบุ๋มและนอนซึม หรือหายใจหอบ เพราะเสียเกลือแร่ ขาดน้ำ ถ้าเป็นมากก็อาจไม่มีปัสสาวะเลย ชีพจรเบา ความดันต่ำ ตัวเย็น กระสับกระส่าย ช็อค
จะเห็นได้ว่า อันตรายไม่ได้เกิดจากการขาดสารอาหาร แต่เกิดจากการขาดน้ำและเกลือแร่ ดังนั้น ถ้าให้น้ำเกลือทดแทนได้ท้นก็จะรอดพ้นจากอันตรายได้
           น้ำเกลือก็คือ "ยา" รักษาอาการท้องเสียนั่นเอง การให้น้ำเกลือด้วยตนเองทำได้โดยวิธีการรับประทาน ซึ่งจะได้ผลในการรักษาใกล้เคียงกับการให้ทางหลอดเลือด และไม่มีอันตรายจากภาวะที่มีการให้น้ำมากเกินไป การดื่มน้ำเกลือในระยะแรก ๆ ที่มีอาการท้องเสีย จะทำให้อาการทุเลาและหายไปได้เองโดยไม่ต้องใช้ยารักษา เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์  ไม่ควรใช้ยาแก้ท้องเสียรักษาตัวเอง แต่ควรไปพบแพทย์ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้
- อุจจาระมีมูกปน มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ คล้ายกุ้งเน่า
- คลื่นไส้ - อาเจียนรุนแรง
- มีไข้สูงเกินกว่า 38.5 องศาเซลเซียส
- ท้องเสียนานกว่า 48 ชั่วโมง
- มีไข้ อ่อนเพลียมาก และมีโรคเรื้อรังประจำตัว
- ท้องเสียเรื้อรัง รวมกับเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ผอมลง อ่อนเพลีย
- ท้องเสียซึ่งอาจมีสาเหตุจากยาอื่น ๆ ที่ใช้อยู่เป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์ผู้สั่งใช้ยานั้น ๆ จะได้แก้ไขและเปลี่ยนยา
- ท้องเสียในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี หรือผู้สูงอายุ เพราะอาจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ง่าย
- ท้องเสียที่เกิดในสตรีมีครรภ์ เพราะอาจเกิดความผิดปกติทั้งมารดาและทารกในครรภ์ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น