วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ของหนักๆ ใครๆ ก็ยกได้ ภัยร้ายจากโรคปวดกล้ามเนื้อ

       เมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2556 ฉันได้ทำงานอยู่บ้านแบบใช้แรงมากๆ  เลยเป็นต้นเหตุให้เกิดปัญหาของโรคปวดหลัง สาเหตุของการทำให้ปวดหลัง
   1. ยกข้าวเปลือก  3 กระสอบ
   2. ลากกระสอบทราบ 20 กว่าถุง
  3. ขุดดินถมรั่วหน้าบ้าน
  4. ขุดร่องระบายน้ำกว้าง 1 ฟุต
  5. ขนน้ำดื่มถัง 4 ถัง
  6.  ยกกระสอบข้าวสาร 2 ถุงปุ๋ย
      การทำงานที่ต้องใช้แรงยกของที่หนักเกินกว่ากำลังอาจทำให้หลังได้รับความเสียหายมาก จากกระดูกสันหลังที่ต้องรับแรงกดทับจากของหนัก ทำให้เกิดอาการปวดบริเวณช่วงเอว ซึ่งเป็นส่วนที่ร่างกายมีความยืดหยุ่นมาอยู่แล้ว ส่งผลกระทบไปยังกระดูกส่วนข้อตรงบริเวณที่รับน้ำหนักมากเกินควร อาจทำให้เกิดโรคหมอนรองกระดูกปรินออกมาได้  เรามารู้จักโรคปวดหลังกันดีกว่า

        โรคปวดกล้ามเนื้อ
อาการปวดหลังมักพบได้บ่อยที่สุด ไม่ว่าจะเป็นวัยหนุ่มสาวหรือวัยอื่่นๆ ซึ่งจะมีอันตรายที่ไม่ร้ายแรง อาจจะหายด้วยตนเองได้ หรืออาจจะเป็นรื้อรัง

อาการเกิดมาจาก
1. ก้มเงยบ่อยครั้ง
2. ยกของหนัก
3. ท่าของร่างกายในการยกของผิดจังหวะ  หรือผิดท่า


การรักษา
1. สังเกตว่ามีสาเหตุจากอะไร แล้วแก้ไขเสีย เช่น ถ้าปวดหลังตอนตื่นนอน ก็อาจเกิดจากที่ นอนนุ่มไป หรือนอนเตียงสปริงก็แก้ไขโดยนอนบน ที่แข็งและเรียบแทนถ้าปวดหลังตอนเย็น ก็มักจะเกิดจากการนั่งตัวงอตัวเอียง หรือใส่รองเท้าส้นสูง ก็พยายามนั่งให้ถูกท่า หรือเปลี่ยน เป็นรองเท้าธรรมดาแทน ถ้าอ้วนไป ควรพยายามลดน้ำหนัก
2. ถ้ามีอาการปวดมาก ให้นอนหงายบนพื้น แล้วใช้เท้าพาดบนเก้าอี้ให้เข่างอเป็นมุมฉาก สักครู่หนึ่งก็อาจทุเลาได้ หรือจะใช้ยาหม่อง หรือน้ำมันระกำทานวด หรือใช้น้ำอุ่นประคบก็ได้ ถ้าไม่หาย ก็ให้ยาแก้ปวด เช่น แอสไพริน, พาราเซตามอล ครั้งละ 1-2 เม็ด จะกินควบกับ
ไดอะซีแพมขนาด 2 มก.ด้วยก็ได้ ถ้ายังไม่หาย อาจให้ยาคลายกล้ามเนื้อ เช่น เมโทคาร์บา มอล , คาริโซม่า ครั้งละ 1 เม็ด ซ้ำ ได้ทุก 6-8 ชั่วโมง ผู้ป่วยควรนอนที่นอนแข็ง และหมั่นฝึก กายบริหารให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรง
3. ถ้าเป็นเรื้อรัง หรือมีอาการชาที่ขา หรือขาไม่มีแรง อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ควรแนะนำ ผู้ป่วยไปโรงพยาบาล อาจ ต้องเอกซเรย์หลัง หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ และให้การรักษาตาม สาเหตุที่พบ


การป้องกันอาการปวดหลัง 
1.) เรียนรู้การใช้กิริยาท่าทางที่ถูกต้องในชีวิตประจำวัน 
2.) หลีกเหลี่ยงการอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน 3.) หลีกเหลี่ยงการใช้แรงงานมาก ๆ และรู้ถึงขีด 
     จำกัดกำลังของตัวเองในการยกของหนัก 
4.) ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน ซึ่งทำให้กระดูกสันหลังส่วนเอวต้องรับน้ำหนักมาก โดยรับประทาน
     อาหารที่มีประโยชน์ สำหรับร่างกายให้ครบทุกประเภท 
5.) บำรุงรักษาสุขภาพร่างกายทั่วไปให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ ร่วมกับการออกกำลังกายกลางแจ้ง เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ รำมวยจีน จะช่วยลดอาการปวดหลังจากการทำงาน 
6.) ออกกำลังบริหารร่างกาย ป้องกันอาการปวดหลังอย่างสม่ำเสมอทุกวัน ถึงแม้ในปัจจุบันยังไม่มีอาการ
     ปวดหลัง 
7.) ปรึกษาแพทย์และรับการรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่มมีอาการ หรือสังเกตุเห็นความผิดปกติ




 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น