โดยทั่วไป อาการเจ็บคอ (sore throat) อาจเกิดจากอาการของโรคภูมิแพ้ อาการทอนซิลอักเสบ การสัมผัสกับอากาศแห้งจัด รวมทั้งการสูดควันพิษ ซึ่งภายในลำคอจะเป็นสีแดงเรื่อ ทำให้รู้สึกระคายเคือง หรือสากคอ นอกจากนี้ อาการเจ็บคออาจทำให้ลำคออักเสบ โดยเริ่มจากด้านหลังของปาก ไปจนถึงหลอดอาหาร และอาจเป็นอาการแสดงเริ่มแรกของไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่ติดต่อจากการสัมผัสเชื้อโรคโดยตรง ทั้งเสมหะ และน้ำลาย ซึ่งอาการเจ็บคอที่พบส่วนใหญ่มีสาเหตุดังนี้
การติดเชื้อไวรัส คือ สาเหตุหลักที่ทำให้คนเป็นไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของอาการเจ็บคอมากที่สุด โดยปกติถ้าร่างกายสร้างภูมิต้านทานได้ ก็จะหายเป็นหวัดเองภายในหนึ่งสัปดาห์ อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการไข้ ปวดกล้ามเนื้อ และน้ำมูกไหล นอกจากนี้ อาการเจ็บคออาจเกิดจากโรคปอดบวม จากเชื้อไวรัส หรือ โมโนนิวคลีโอซิส
การติดเชื้อแบคทีเรีย พบน้อยกว่าการติดเชื้อไวรัส แต่อาการอาจรุนแรงกว่ามาก ส่วนใหญ่จะแสดงอาการภายใน 2-7 วัน โดยเฉพาะในช่วงอายุ 5-25 ปี จะติดเชื้อกันง่าย ทั้งทางน้ำมูก และเสมหะ นอกจากนี้ ยังติดต่อทางอาหาร นม และน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียสเตร็ปโตค็อกคัส ซึ่งถ้าไม่รักษาให้ทันท่วงที เชื้อโรคอาจลุกลามไปทำลายหัวใจและไตอย่างถาวร
บางคนที่มีอาการเจ็บคอ จนฝากล่องเสียงอักเสบ ช่องคอจะบวมมาก จนปิดทางเดินหายใจควรรีบพบแพทย์ เพราะอาจติดเชื้อสเตร็ปโทรต และเมื่อมีอาการติดเชื้อซ้ำบ่อยๆ จนเกิดอาการแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ติดเชื้อในกระแสเลือด หรือ เป็นไข้รูมาติกได้
- ต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) คือ โรคที่เกิดจากการอักเสบติดเชื้อของต่อมทอนซิล ซึ่งเป็นต่อมคู่ ซ้าย และขวา โดยเป็นต่อมน้ำเหลืองในลำคอ อยู่ด้าน ข้างใกล้กับโคนลิ้น ทำหน้าที่ช่วยกำจัดเชื้อโรคที่เข้าสู่ลำคอ เช่น จากอาหาร น้ำดื่ม และการหายใจ เป็นเนื้อเยื่อไม่สำคัญ ตัดออกได้ เพราะมีต่อมน้ำเหลืองอื่นๆทำหน้าที่เหล่านี้แทนได้ ต่อมทอนซิลอักเสบมักเกิดร่วมกับลำคออักเสบเสมอ ดัง นั้น เมื่อกล่าวถึงต่อมทอนซิลอักเสบ จึงหมายรวมถึงลำคออักเสบด้วย
- ต่อมทอนซิลอักเสบเป็นโรคพบได้บ่อยโรคหนึ่ง พบได้ในทุกอายุ แต่พบได้บ่อยกว่าในเด็ก และไม่ค่อยพบในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ โอกาสเกิดโรคเท่ากันทั้งในเพศหญิงและเพศชาย
- ต่อมทอนซิลอักเสบพบได้ทั้งการอักเสบติดเชื้อเฉียบพลัน ซึ่งเมื่อเกิดมักมีอาการรุนแรงกว่า แต่รักษาหายได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ และอักเสบเรื้อรัง เป็นๆหายๆ อาการแต่ละครั้งน้อยกว่าชนิดเฉียบพลัน แต่มีอาการอักเสบเฉียบพลันซ้อนได้เป็นระยะๆ ซึ่งนิยามของต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง ได้แก่ มีต่อมทอนซิลอักเสบเกิดขึ้นอย่างน้อย 7 ครั้งใน 1 ปีที่ผ่านมา หรือ อย่างน้อย 5 ครั้งทุกปี ติดต่อกันใน2 ปีที่ผ่านมา หรืออย่างน้อย 3 ครั้งทุกปี ติดต่อกันใน 3 ปีที่ผ่านมา
สาเหตุเกิดจากติดเชื้อไวรัส หรือ แบคทีเรีย คออักเสบจากไวรัส ที่พบบ่อย เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ พวกนี้มักจะมีน้ำมูกใสๆ ต่อมทอนซิลไม่แดงมาก (ไม่มีหนอง) ส่วนต่อมทอนซิลอักเสบมักจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมีอยู่หลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เชื้อ Streptococcus groug A
ติดต่อทางลมหายใจ ไอ จาม น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ
อาการ กรณีเป็นแบบเฉียบพลัน พบว่ามีไข้สูงเกิดขึ้นทันที มีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ครั่นเนื้อครั่นตัว รู้สึกหนาวสะท้าน รู้สึกคอแห้ง เจ็บคอมาก บางทีอาจเจ็บคอมาก จนกลืนน้ำและอาหารลำบาก ในเด็กเล็ก อาจพบอาการอาเจียน ไอ ปวดท้อง ท้องเดิน ร่วมด้วย บางคนอาจมีไข้สูงมากจนชัก หรือ ร้องกวนไม่ยอมนอน บางคนที่บริเวณใต้คาง ข้างใดข้างหนึ่ง (ต่อมน้ำเหลือง) มีอาการบวมและเจ็บ กรณีเป็นแบบเรื้อรัง เจ็บคอบ่อยๆ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ไอแห้งๆ หรือ มีเสมหะ เล็กน้อย มักไม่มีไข้หรือ อาจมีไข้ต่ำๆ ในบางครั้ง
อาการแทรกซ้อนเชื้ออาจลุกลามทำให้เกิดหูชั้นกลางอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองที่คออักเสบ จมูกอักเสบ ไซนัสอักเสบ ปอดอักเสบได้ เชื้ออาจแพร่กระจายเข้ากระแสเลือด ทำให้เกิด ข้ออักเสบเฉียบพลัน กระดูกอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ถ้าติดเชื้อ Streptococcus groupA เกิดโรคแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ ไข้รูมาติก หน่วยไตอักเสบ ซึ่งมักจะเกิด หลังต่อมทอนซิลอักเสบประมาณ 1-4 สัปดาห์
....ปรับตัวเพื่อลดเจ็บคอ....
1.ดื่มน้ำมากขึ้นกว่าเดิม 2 เท่า น้ำจะช่วยให้เสมหะเหนียวน้อยลง และขับออกง่ายขึ้น
2.ปรับสภาพอากาศให้ชื้นขึ้นเล็กน้อย เช่น หาอ่างใส่น้ำมาวางบริเวณที่ร้อน หรือปลูกต้นไม้ในบ้าน เพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศที่แห้ง จะช่วยให้เยื่อเมือกในช่องคอไม่แห้ง (เมื่อช่องคอแห้ง จะทำให้ระคายคอ และนอนไม่หลับ)
3.หลีกเลี่ยงควันและมลพิษต่างๆ งดสูบบุหรี่ รวมทั้งสารระเหยจากน้ำยาทำความสะอาดในบ้าน หรือสีทาบ้าน เพราะจะยิ่งทำให้เจ็บคอมากขึ้น
4.หลีกเลี่ยงอาหารก่อพิษ เช่น ชา กาแฟ แอลกอฮอล์ อาหารที่มีน้ำตาลสูงจำพวกเค้ก ขนมหวาน เพราะจะมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดต่อมทอนซิลอักเสบ และโรคติดเชื้ออื่นๆ อันเป็นสาเหตุของการเจ็บคอ
5.ใช้เสียงให้น้อยลง เมื่ออาการเจ็บคอลุกลาม จนทำให้กล่องเสียงอักเสบ จนทำให้ระคายคอมากเวลาพูด หรือเสียงหายไปชั่วขณะ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ และให้ความอบอุ่นกับร่างกายเยอะๆ
วิตามินธรรมชาติแก้อาการเจ็บคอ
1.เบต้าแคโรทีน มีมากในแครอท ฟักทอง ตำลึง แค กระเพา ขี้เหล็ก ผักเซียงดา ยอดฟักขาว ผักติ้ว และผักแต้ว เมื่อสารเบต้าแคโรทีนเข้าสู่ร่างกาย จะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ซึ่งช่วยทำให้เนื้อเยื่อของเมือกบุในลำคอ และทางเดินหายใจที่ต้องผลิตน้ำย่อยบ่อยๆ มีความแข็งแรง
2.วิตามินดี จากปลาที่มีไขมันมาก เช่น ปลาสวาย ปลาดุก ปลาช่อน ปลาจะละเม็ด ปลาซาบะ ปลาซาดีน ปลาแซลมอน และปลาทะเล เพราะวิตามินดีจากไขมันปลา จะช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อในลำคอ
3.วิตามินอี มีมากในผลอะโวคาโด และอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง เพราะมีวิตามินอีที่ช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อ ที่ถูกเชื้อโรคทำลายให้แข็งแรง
4.วิตามินบี โดยเฉพาะอาหารที่มีส่วนผสมของ เชื้ออะซิโดฟิลัส (acidophilus) เช่น โยเกิร์ต เพราะจะช่วยทดแทนแบคทีเรียในลำไส้ ซึ่งเป็นแหล่งวิตามินบีบางชนิด ที่ถูกยาปฏิชีวนะทำลายไป
ยาแก้เจ็บคอจากก้นครัว
1.เกลือ เกลือที่เราใช้ปรุงอาหารเป็นยาแก้เจ็บคอได้เป็นอย่างดี โดยผสมเกลือ 1 ช้อนชา กับน้ำอุ่น 1 แก้ว ใช้อมกลั้วคอ หรือทำเป็นน้ำยาบ้วนปาก วันละ 2-3 ครั้ง จะช่วยบรรเทาอาการได้
2.น้ำอุ่น ผสมน้ำอุ่น 1 แก้วกับน้ำมะนาว หรือน้ำส้มไซเดอร์แอปเปิ้ล 1 ช้อนชา ใช้กลั้วคอ วันละ 2-3 ครั้ง ส่วนผสมดังกล่าวมีฤทธิ์เป็นกรด ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัส
ผลไม้รสเปรี้ยวบรรเทาเจ็บคออย่ามองข้ามผลไม้รสเปรี้ยวนะคะ เพราะกรดซีตริก (citric) ในรสเปรี้ยวมีสรรพคุณช่วยลดอาการเจ็บคอได้ดี และวิตามินซีจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย เพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย และช่วยลดระยะเวลาในการเป็นหวัดให้สั้นลง ซึ่งผลไม้รสเปรี้ยวทีเราแนะนำมีดังนี้
3.มะขามป้อม ใช้เนื้อผลแก่สดประมาณ 2-3 ผล โขลกพอแหลก แทรกเกลือเล็กน้อย อมหรือเคี้ยววันละ 3-4 ครั้ง วิตามินซี และรสเปรี้ยวอมฝาดในมะขามป้อม จะช่วยแก้หวัด ทำให้คอชุ่มชื่น แก้อาการคอแห้ง และแก้อาการเจ็บคอ
4.มะนาว ใช้ผลสดคั้นเอาแต่น้ำ แทรกเกลือเล็กน้อย จิบบ่อยๆ หรือ ใช้มะนาวครึ่งลูกบีบใส่น้ำอุ่นครึ่งแก้ว แล้วผสมน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา วิตามินซี และรสเปรี้ยวของมะนาวจะช่วยขับน้ำลาย ลดอาการระคายเคืองที่เยื่อบุผิวภายในลำคอ ส่วนน้ำผึ้งมีสรรพคุณบรรเทาอาการเจ็บคอ
5.มะขาม ใช้เนื้อในฝักแก่ของมะขามเปรี้ยว หรือมะขามเปียก จิ้มเกลือกินพอสมควร หรือจะคั้นเป็นน้ำมะขามแทรกเกลือเล็กน้อย และใช้จิบบ่อยๆ ก็ได้ เนื้อฝักแก่ รสเปรี้ยว ช่วยขับเสมหะ ทำให้คอชุ่มชื่น และแก้อาการเจ็บคอ
6.น้ำส้ม นำผลส้มประมาณ 3 ผล ล้างให้สะอาด คั้นเอาแต่น้ำ เติมน้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ และเกลือป่น 1/2 ช้อนชา จิบบ่อยๆเมื่อมีอาการ รสเปรี้ยวของส้มมีสรรพคุณแก้ไอ ขับเสมหะ และทำให้ชุ่มคอ
7.เสาวรส นำเสาวรสสุกประมาณ 2-3 ผล ล้างให้สะอาด ผ่าครึ่ง ใช้ช้อนตักเมล็ดและส่วนที่เป็นน้ำสีส้มออกจากเนื้อผล คั้นกรองด้วยกระชอนหรือผ้าขาวบาง เพื่อแยกเอาเมล็ดและเส้นใยออก เติมน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ ชิมรสตามใจชอบ จิบเมื่อมีอาการ รสเปรี้ยวของเสาวรสมีสรรพคุณช่วยขับเสมหะ และทำให้ชุ่มคอ
ข้อแนะนำ
1. ในผู้ป่วยที่มีไข้สูงควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
2. ควรสวมเสื้อผ้าที่หนาๆ ในบริเวณที่มีอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย
3. ดื่มน้ำเปล่า วันล่ะ 8 แก้ว เพื่อปรับสมดุลร่างกาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น